Header

ทำความรู้จัก: โรคฝีดาษลิง โรคติดต่อจากสัตว์ ที่อาจอันตรายถึงชีวิต

ฝีดาษลิง เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนอาจไม่ทราบ ว่ามีสาเหตุและอาการอย่างไร เนื่องจากไม่ได้มีการแพร่ระบาดหนักในประเทศไทย วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ว่ามีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาอย่างไร เพราะถึงแม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ก็อาจ “อันตรายถึงชีวิต” ได้

กรมการแพทย์ เตือน โรคฝีดาษลิงพบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง ว่าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อไวรัส Orthopoxvirus ซึ่งโดยธรรมชาติของเชื้อไวรัสดังกล่าว มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ สามารถติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น ๆ เช่น กระรอกดิน ได้ ยิ่งไปกว่านั้น โรคฝีดาษลิง ยังสามารถติดต่อไปยังมนุษย์ได้อีกด้วย และถึงแม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่อาจอันตรายถึงชีวิต

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า เชื้อไวรัสฝีดาษลิงมีแนวโน้มกำลังระบาดในยุโรปแล้ว โดยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักร พบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษในโปรตุเกส 6 ราย ในขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกกว่า 12 ราย ที่อยู่ระหว่างการตรวจวินิจฉัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่
 

โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไร?

โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง หรือผ่านเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ตา ของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค ยิ่งไปกว่านั้น การนำซากสัตว์ที่ป่วยมาปรุงอาหาร หรือการถูกสัตว์ป่วยข่วน กัด หรือสัมผัสเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน

ที่สำคัญ โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้อีกด้วย ผ่านละอองฝอยทางการหายใจ การสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง รอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วย หรือสัมผัสของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังจากรับเชื้อแล้ว โรคนี้จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7 – 14 วัน หรืออาจนานถึง 24 วัน ทั้งนี้ การแพร่เชื้อจากคนสู่คนมีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำ

โรคฝีดาษลิง อาการอย่างไร?

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคฝีดาษลิงว่า จะเริ่มต้นจากการมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต

ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างฝีดาษลิงและฝีดาษ คือในฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับในฝีดาษลิง และภายใน 1 – 3 วัน หลังจากมีอาการดังกล่าว จะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้าแล้วลามไปที่ผิวหนังส่วนอื่น จากผื่นจุดแดง นูนขึ้นเป็นตุ่ม กลายเป็นตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง และแตกออกเป็นสะเก็ดในที่สุด

การดำเนินโรคใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ

โรคฝีดาษลิง ตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างไร?

ในการวินิจฉัยอาการ ว่าเป็นโรคฝีดาษลิงหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หากพบว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถรักษาโดยให้ยาต้านไวรัส Cidofovir, Tecovirimat, Brincidofovir ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ก็พบว่ามีรายงานเสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงได้ โดยกลุ่มเด็กเล็ก คือกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด

โรคฝีดาษลิง ป้องกันอย่างไร?

ปัจจุบัน มีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิงในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เผยว่า ประชาชนทั่วไป สามารถป้องกันการรับเชื้อฝีดาษลิงได้ โดยการ:

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
  • เลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
  • เลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ

หากพบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้  หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง

 

อ้างอิง : กรมการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2565)



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงขนแขน สัญญาณเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

หนุ่มสาวออฟฟิศที่จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ เคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปวดบริเวณกระดูกคอ บ่า ไหล่ และในบางครั้งก็ปวดร้าวลงไปที่บริเวณแขนเหมือนโดนไฟช็อต มีอาการชาหรืออ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น

ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงขนแขน สัญญาณเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

หนุ่มสาวออฟฟิศที่จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ เคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปวดบริเวณกระดูกคอ บ่า ไหล่ และในบางครั้งก็ปวดร้าวลงไปที่บริเวณแขนเหมือนโดนไฟช็อต มีอาการชาหรืออ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม