Header

ฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้วจะยังติดเชื้อได้อีกไหม และจะยังแพร่เชื้อต่อได้หรือเปล่า ? เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย และถกเถียงกันอย่างผิด ๆ ระบาดในโลกออนไลน์ สรุปแล้วการฉีดวัคซีนช่วยให้เรากลับมาใช้ ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องกลัวติดเชื้อได้จริงหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

รู้จักวัคซีนโควิด

วัคซีน เป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนพาสังคมไทยออกจากวิกฤติโควิด 19 วัคซีนคือสารชีววัตถุที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค โดยทํางานเสมือนเป็น “คู่ซ้อม” ให้ ร่างกายได้ฝึกฝนกลไกการป้องกันโรคตามธรรมชาติ ให้รู้จัก และมีความพร้อมในการต่อสู้กับเชื้อโรคจริง

 

วัคซีนอาจผลิตมาจาก

  • เชื้อโรคที่ถูกทําให้อ่อนฤทธิ์ หรือเชื้อโรค ที่ตายแล้ว
  • บางส่วนของเชื้อโรค หรือโปรตีนสังเคราะห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับบางส่วนของเชื้อโรค
  • สารพันธุกรรมสังเคราะห์และโปรตีนบางส่วน ของเชื้อโรค
  • การตัดต่อพันธุกรรมของเชื้อโรคเข้าไปใน ไวรัสชนิดอื่น  โดยที่วัคซีนทุกชนิด ไม่สามารถก่อโรคได้

นอกเหนือจากสารชีววัตถุที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้ว ในวัคซีนยังมีสารประกอบอื่น เพื่อเพิ่มความคงตัว หรือเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน ในปัจจุบัน  มีการพัฒนาวัคซีนก้าวหน้าไปมาก และมีวัคซีนชนิดที่ใช้สูดดม อยู่ระหว่างการศึกษาในมนุษย์ รวมถึงมีการพัฒนา วัคซีนชนิดรับประทาน และวัคซีนที่ใช้ผ่านผิวหนัง ซึ่งหากสำเร็จ และได้ผลดีจะเป็นวัคซีนที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการป้องกันโรคในวงกว้างในอนาคต

 

ชนิดของวัคซีนโควิด

  • วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต เช่น วัคซีนของบริษัท AstraZeneca, วัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech, วัคซีนของบริษัท Moderna, วัคซีนของบริษัท Johnson & Johnson, วัคซีน ของสถาบัน Gamaleya, วัคซีนของบริษัท CanSinoBIO, วัคซีนของบริษัท Shenzhen Kangtai Biological Products, และวัคซีนของบริษัท Zydus Cadila
  • วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมในการผลิต ใชักับวัคซีนหลายชนิดมาก่อน เช่น วัคซีนของบริษัท Sinovac, วัคซีนของบริษัท Sinopharm-Beijing, วัคซีนของบริษัท Sinopharm-Wuhan, วัคซีนของบริษัท Bharat Biotech, วัคซีนของสถาบัน Vector Institute, วัคซีนของบริษัท Anhui Zhifei Longcom, วัคซีนของสถาบัน Chumakov Center, วัคซีนของ Research Institute for Biological Safety Problems, วัคซีนของสถาบัน Finlay Vaccine Institute (2 ผลิตภัณฑ์), วัคซีนของ Center for Genetic Engineering and Biotechnology of Cuba, วัคซีนของบริษัท Medigen, และวัคซีนของบริษัท Shafa Pharmed Pars

วัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิผลในการลด “การเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต” ได้ดีและยังสามารถป้องกันการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงจากการติดเชื้อโควิด 19 ได้พอสมควรอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักไว้เสมอว่า ผู้รับวัคซีนแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นมาตรการป้องกัน ยังคงมีความสําคัญและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดในวงกว้างและรุนแรง แม้ว่าเราจะเห็นการรายงานพบมีผู้ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีนครบโดสแล้วในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อิสราเอล สิงคโปร์ หรือ แม้แต่ในประเทศไทย การติดเชื้อภายหลังการรับวัคซีน ครบโดส เป็นสิ่งที่เกิดได้ เพราะไม่มีวัคซีนชนิดใด ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

 

 

ชนิดของวัคซีนโควิด

กลไกธรรมชาติของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อก่อโรคจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้น ๆ และระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถจดจําเชื้อโรคนั้นได้ ดังนั้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้ออีกในอนาคต ร่างกายที่ได้จดจํา เชื้อโรคจะสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคได้ในเวลาอันรวดเร็วและทันท่วงที วัคซีนโควิด 19 มีการพัฒนา เพื่อจําลองกระบวนการของร่างกายเวลาติดเชื้อโควิด 19 โดยการใช้เชื้อโควิด 19 ที่ถูกทําให้หมดฤทธิ์ หรือใช้ส่วนของเชื้อไวรัส หรือสารสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถก่อโรคในร่างกายแก่ผู้รับวัคซีน โดยวัคซีน ถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ต่างไปจากการติดเชื้อโรคจริง

วัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่ต้องฉีด 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เพียงพอและอยู่นาน โดยเว้นระยะระหว่างเข็มแตกต่างกัน ซึ่งมักเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ด้วยเหตุนี้ จึงจําเป็นต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มในระยะห่างที่เหมาะสม ถึงจะมั่นใจว่า ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเพียงพอป้องกันโรคได้

 

ฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อ

ตามหลักการควบคุมโรค วัคซีนที่ดีที่สุดคือวัคซีนที่สามารถป้องกันความสูญเสียทางสุขภาพจากการติดเชื้อ ตั้งแต่ลดโอกาสติดเชื้อ ลดการเจ็บป่วย ลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด 19 ที่ได้รับวัคซีน และลดโอกาส การแพร่กระจายเชื้อจากผู้ได้รับวัคซีนไปยังบุคคลอื่น ในปัจจุบันข้อมูลการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของ วัคซีนโควิด 19 ในระยะที่ 3 แสดงว่า วัคซีนสามารถ “ลดโอกาสการเจ็บป่วยและเสียชีวิต” ได้ดี อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการศึกษาผลของวัคซีนในการลดการติดเชื้อและการแพร่เชื้อทยอยเผยแพร่ออกมา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการติดตามการใช้วัคซีนในสภาวะความเป็นจริงในหลายประเทศ (Real world experience) เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ซึ่งพบว่าวัคซีนน่าจะมีส่วนสําคัญในการลดจํานวน ผู้ติดเชื้อและช่วยควบคุมการระบาด (ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ) นอกจากนี้ ยังมีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าวัคซีนช่วยลดจํานวนเชื้อไวรัสในร่างกาย ซึ่งน่าจะช่วยลดการแพร่เชื้อได้ในระดับหนึ่ง ทําให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ และประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการแพร่กระจายของเชื้อสายพันธุ์เดลตา พบว่าหลายประเทศที่สามารถควบคุมโรคได้ดี กลับเริ่มมีจํานวนผู้ป่วยมากขึ้น รวมถึงการพบผู้ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีนครบโดสมากขึ้น แต่อัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่สูง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนยังน่าจะช่วยลดการป่วยหนักได้ดี แต่แม้ว่าจะฉีดวัคซีน ครบชุดแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ ซึ่งต้องติดตามข้อมูลต่อไป สําหรับประสิทธิภาพของวัคซีน ต่อสายพันธุ์เดลตาและการกลายพันธุ์ใหม่ ๆ

โดยรวมสรุปได้ว่า จากที่มีการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนและมีการใช้วัคซีนจริงทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าวัคซีน น่าจะเป็นเครื่องมือสําคัญที่ช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ดีและช่วยลดการติดเชื้อและควบคุมโรค ได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นแม้จะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็อย่าชะล่าใจ ยังคงมีความจําเป็นต้องรักษามาตรการ สวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และล้างมืออย่างเคร่งครัด ลดการเดินทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดในวงกว้าง และรุนแรง รวมทั้งพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์



ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

 

 



ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer)

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer) ใช้สำหรับวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย องค์ประกอบร่างกาย ความดันโลหิตแบบสอดแขน อุณหภูมิร่างกาย และปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด พร้อมระบบเชื่อมต่อเข้า HIS ของโรงพยาบาล สะดวก สบาย มีความถูกต้อง แม่นยำ

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer)

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer) ใช้สำหรับวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย องค์ประกอบร่างกาย ความดันโลหิตแบบสอดแขน อุณหภูมิร่างกาย และปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด พร้อมระบบเชื่อมต่อเข้า HIS ของโรงพยาบาล สะดวก สบาย มีความถูกต้อง แม่นยำ

ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดเชื้อโควิด-19 ต้อง Home Isolation คืออะไร ต้องทำอย่างไร

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดเชื้อโควิด-19 ต้อง Home Isolation คืออะไร ต้องทำอย่างไร

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม