Header

หัวใจแข็งแรงมา ''ตรวจคัดกรองหัวใจ'' กันดีกว่า

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจคัดกรองหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรรภูมิ

หัวใจแข็งแรงมา ''ตรวจคัดกรองหัวใจ'' กันดีกว่า

ใครที่รู้สึกว่า ”หัวใจ”  ไม่แข็งแรง รีบสังเกตตัวเองให้ไว แล้วมา ”เช็คสุขภาพหัวใจ” กัน เพื่อตัวคุณเอง และคนที่คุณรัก เพราะ “โรคหัวใจ”  ไม่เลือกวัย  ไม่เลือกเพศ และไม่เลือกช่วงอายุ

ในอดีตเราอาจจะพบว่า โรคหัวใจส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า คนอายุน้อยหรือวัยกลางคน ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

เช่น ความเครียด ทำงานหนัก พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดี พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงสูง สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกาย

หรือมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ประเภทความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะเป็นสาเหตุของ “โรคหัวใจ” ที่พบมากขึ้นในขณะนี้

 

สัญญาณเตือนของโรคหัวใจ

  • เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย (อาจจะพบในเวลาออกกำลังกาย)
  • ปวดคอ ปวดหลังด้านบน ปวดแขนด้านซ้าย
  • ขาบวม บริเวณหน้าแข้งหรือปลายเท้า 2 ข้าง
  • มีอาการร้าวด้านซ้าย ขึ้นกรามด้านซ้าย ร้าวถึงท้องแขนด้านซ้าย
  • เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจอึดอัด
  • รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว รัว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หน้ามืดบ่อย ๆ และวูบหมดสติ (ไม่รู้สึกตัวกะทันหัน)
  • นอนราบไม่ได้ หายใจติดขัด
  • จุก แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย

ท่านใดที่มีปัจจัยเสี่ยง และสัญญาณเตือนเหล่านี้ ควรไปตรวจเช็คหัวใจ ด้วยการตรวจคัดกรองและพบแพทย์ด้านหัวใจ เพื่อช่วยค้นหาความผิดปกติ และประเมินว่า ควรได้รับการดูแลรักษา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไรให้เหมาะสม

 

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ

  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ วิ่งสายพาน “ EST” (Exercise Stress Test)

คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งสายพาน

เพื่อให้แพทย์ตรวจการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ และตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายต้องออกแรง กล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดหรือไม่ จากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในเบื้องต้น

โดยแพทย์จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ (Arrhythmia) และการขาดเลือดของหัวใจ

รวมถึงอาการแสดงอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
 

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ ตรวจเอคโค่หัวใจ “ECHO” (Echocardiogram)

คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงและแปลเป็นภาพ แพทย์จะเห็นทั้งรูปร่าง และขนาดของหัวใจ รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่

โดยแพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น สำหรับวิธีนี้แพทย์จะใช้ประเมินการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ เหนื่อย บวม ที่สงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจ หรือคนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เพื่อดูการเคลื่อนไหวของหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่ เช็คภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ หัวใจโต  หัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อ

 

  • การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ “CTA Coronary / Cardiac Artery” (Coronary Computed Tomographic Angiography)

คือ การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เช็คระดับความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หรือใช้ติดตามผลการรักษา คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

สำหรับวิธีนี้เป็นการเตรียมผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ก่อนทำการผ่าตัด หรือทำหัตถการใหญ่ ๆ และหลังจากการตรวจ แพทย์ด้านหัวใจ จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม หากพบความผิดปกติ อาจจะปรับการใช้ยา ปรับพฤติกรรมคนไข้ หรือแนะนำฉีดสีสวนหัวใจ ในการทำหัตถการอื่นๆต่อไป

ดังนั้นถ้าหากคุณ หรือคนใกล้ตัวที่คุณรัก ลองสังเกตอาการตัวเองว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือไม่ อย่าปล่อยไว้ให้อาการรุนแรง

แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อช่วยประเมินและคัดกรอง ความเสี่ยง ในการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
6 สัญญาณเตือนโรคหัวใจ อาการแบบนี้ เป็นโรคหัวใจชนิดไหน ?

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
6 สัญญาณเตือนโรคหัวใจ อาการแบบนี้ เป็นโรคหัวใจชนิดไหน ?

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม