Header

ไขข้อสงสัย ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่ หรือจำเป็นจะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ หลังผ่าตัดไปแล้วจะสามารถใช้ข้อเข่าได้นานเท่าไหร่ หรือมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่พบบ่อยที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมักจะถามบ่อย ๆ วันนี้จะมาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กัน

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมคืออะไร?

เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อจากศูนย์ Joint Surgery Center แล้วเป็นกรณีที่คนไข้ต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เช่น เป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรคและช่วยแพทย์ในการเลือกชนิดและขนาดของข้อเทียมที่ถูกต้อง

ในการผ่าตัดข้อเข่าเทียม กระดูกส่วนที่เสียดสีกันจะถูกแทนที่ด้วยโลหะและพลาสติก

พื้นผิวของกระดูกส่วนบนจะถูกเปลี่ยนเป็นโลหะซึ่งจะเข้าและสมดุลกับโครงสร้างของกระดูกอย่างเป็นธรรมชาติ พื้นผิวของกระดูกส่วนล่างจะถูกเปลี่ยนเป็นโลหะที่เรียบโดยจะมีแผ่น ที่รองรับน้ำหนักทำหน้าที่คล้ายกับกระดูกอ่อน ตรงส่วนของใต้พื้นผิวของกระดูกลูกสะบ้าอาจจะถูกปรับพื้นผิวของกระดูกเช่นกัน ซึ่งจะแทนที่โดยพลาสติก (Polyethylene) ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายกับส่วนของกระดูกลูกสะบ้า

ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

ข้อเทียมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมากทั้งวัสดุและรูปแบบของข้อเทียมทำให้สามารถใช้งานได้นานมากขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้การศึกษาวิจัยจากต่างประเทศหลายงานวิจัยระบุตรงกันว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถใช้งานได้นานมากกว่า 10 ปีโดยที่ยังไม่ต้องผ่าตัดแก้ไข

โดยตามสถิติจะพบว่า

  • ประมาณร้อยละ 5 จะมีโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 10 ปี
  • ประมาณร้อยละ 10-15 จะมีโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 20 ปี
  • ประมาณร้อยละ 80 มีโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะอยู่ได้นานกว่า 20 ปี

 ทั้งนี้อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิเช่น อายุ โรคประจำตัว น้ำหนัก ลักษณะการใช้งาน โดยที่อายุเป็นปัจจัยที่สำคัญ หากเราผ่าตัดตั้งแต่อายุน้อย มีการใช้งานข้อเข่ามาก ยิ่งมีโอกาสที่จะต้องมาทำการผ่าตัดแก้ไขในอนาคตมากขึ้น ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำวิธีรักษาโดยการไม่ผ่าตัดก่อน จนกระทั่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดจึงแนะนำรักษาโดยการผ่าตัด ก็จะช่วยยืดระยะเวลาการผ่าตัดออกไปได้อีก

บทสรุป ข้อเข่าเทียมใช้ได้นานกว่าที่คิด

สรุปนะครับ ข้อเข่าเทียมไม่มีหมดอายุ แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน การดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ข้อเข่าเทียมนั้นก็จะอยู่กับเราไปอีกนานอย่างแน่นอนครับ

ถึงแม้ว่าภายหลังการผ่าตัดไปแล้วหากต้องการให้ข้อเข่าเทียมที่ผ่าตัดไป สามารถใช้ได้ยาวนานก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ระวังการบาดเจ็บและติดเชื้อ ใช้งานข้อเข่าเทียมนั้นตามสมควร หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักเกินไป จะสามารถทำให้ข้อเทียมนั้นอยู่กับเราไปอีกนานตลอดชีวิต จนไม่ต้องมาผ่าตัดแก้ไขในภายหลัง

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม