Header

โภชนาการที่ดี เป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

การควบคุมอาหาร คือ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล เป็นการป้องกัน หรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่จะมาภายหลัง

จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารคือ

  1. เพื่อลดระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติ หรือ ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด
  2. เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  3. เพื่อให้มีโภชนาการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมเบาหวาน เลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ถูกชนิดและถูกสัดส่วนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน

หลักในการเลือกอาหาร

  1. รับประทาน ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ได้ตามปกติ ไม่ต้องลดมาก นอกจากผู้ที่อ้วนให้ลดลงครึ่งหนึ่ง
  2. รับประทานผลไม้ตามจำนวนที่กำหนด วันละ 2-3 ครั้งแทนขนม
  3. รับประทานผลไม้ให้มากขึ้นทุกมื้อ
  4. รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
  5. รับประทานไข่สัปดาห์ละ 2-3 ฟอง ถ้าไขมันในเลือดสูงให้ลดไข่แดง
  6. รับประทานปลา และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
  7. ใช้น้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ในการทอดผัดอาหารแต่พอควร
  8. เลือกน้ำนมไม่มีไขมัน  น้ำนมพร่องมันเนย แทนน้ำนมปรุงแต่รส
  9. หลีกเสี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ช็อกโกแลตและขนมหวานจัดต่างๆ
  10. หลีกเสี่ยงอาหารใส่กะทิ ไขมันสัตว์ อาหารทอดเป็นประจำ รวมทั้งขนมอบ เช่น เพสเตรี้
  11. รับประทานผัก ผลไม้ทั้งกาก แทนการคั้นดื่มแต่น้ำ
  12. เลือกรับประทานอาหาร ที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัดที่ใช้น้ำมันแทนการทอด
  13. ใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มละอาหาร แทนการใช้น้ำตาลทราย
  14. รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม

 

ประโยชน์ของการควบคุมอาหาร

  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติ
  • ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น
  • ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  • ทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน

 

ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานน้ำหวาน หรือขนมหวาน ได้หรือไม่

            น้ำหวาน ลูกอมชนิดต่างๆ เหล่านี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่นๆ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็ว ยกเว้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ สำหรับขนมหวานจัดอื่นควรงด

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม