Header

8 ปัจจัยเสี่ยงเข่าเสื่อม รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

ความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม เกิดได้หลายปัจจัย

หลายคนเข้าใจว่า การที่กระดูกหรืออวัยวะในร่างกายเสื่อมนั้น เกิดจากการมีอายุมากขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง การเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก หัวเข่าของเราก็เช่นกัน โดยภาวะเข่าเสื่อม ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเรามีอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคที่ส่งต่อผ่านพันธุกรรมเพียงเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ และที่สำคัญ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยสาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดโรค ข้อเข่าเสื่อม มีด้วยกันหลายปัจจัยเช่นกัน

 

สาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

1. กล้ามเนื้อหน้าขาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อหน้าขาเป็นกล้ามเนื้อส่วนที่มีหน้าที่เหยียดข้อเข่า โดยในคนที่กล้ามเนื้อส่วนหน้าขาไม่แข็งแรงจะมีโอกาสเกิดภาวะเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนที่มีกล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรง

2. ความยาวของขาไม่เท่ากัน

ความยาวของขาทั้งสองข้างที่ไม่เท่ากันมีความสัมพันธ์กับอาการเข่าและสะโพกเสื่อม จากงานวิจัยพบว่า หากความยาวของขาทั้งสองข้างห่างกันเกิน 2 เซนติเมตร โอกาสที่จะเกิดเข่าเสื่อมอาจมากกว่าคนที่ขายาวเท่ากันถึงร้อยละ 40

3. การเล่นกีฬาบางประเภท

การเล่นกีฬาบางประเภทที่มีการใช้ข้อเข่ามาก ก็มีผลให้เกิดการเข่าเสื่อม ตัวอย่างเช่น คนที่เล่นฟุตบอล มีโอกาสเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าบุคคลทั่วไป เพราะมักมีอาการบาดเจ็บจากการกระโดดหรือการบิดของเข่าเป็นประจำ กีฬาอื่น ๆ เช่น การเดินระยะไกล หรือแม้แต่การนั่งยอง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุได้เช่นกัน

4. การทำงานหนักเป็นเวลานาน

คนทำงานที่มีความจำเป็นที่จะต้องนั่งคุกเข่า นั่งยอง ยืนนาน หรือยกของหนัก มักมีอัตราการเกิดเข่าเสื่อมมากกว่าคนที่ทำงานเบา โดยการหมุนตัวขณะยกของหนัก ซ้ำ ๆ เป็นประจำนี่เอง เป็นเหตุให้เกิดการบิดหมุนของเข่า ซึ่งพฤติกรรมนี้ก็มาพร้อมกับอาการเข่าเสื่อมอย่างเลี่ยงไม่ได้

5. การเรียงตัวของเข่า

ในแง่ของสรีระทางร่างกาย การเรียงตัวของเข่าก็มีผลต่อการเข่าเสื่อมเช่นกัน โดยผู้ที่มีเข่าชิดกันมากกว่าปกติ เข่าโก่ง หรือมีอาการเข่าแอ่นมาก มักมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า

6. น้ำหนักร่างกายที่มากขึ้น

การมีน้ำหนักร่างกายมากจะทำให้กระดูกอ่อนเข่าสึกกร่อนและทำให้เอ็นรอบเข่าไม่แข็งแรง โดยทุก ๆ ครึ่งกิโลกรัมของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น จะทำให้น้ำหนักลงไปที่เข่าเพิ่มขึ้น 1 – 1.5 กิโลกรัม เพราะในขณะที่กำลังเดิน น้ำหนักตัวจะลงไปที่ขาข้างที่เหยียบอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการศึกษาพบว่า อาการปวดเข่าจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้ามีน้ำหนักตัวลดลง

7. ประวัติบาดเจ็บที่หัวเข่า

การประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับการบาดเจ็บที่หัวเข่า อาจมีผลต่อการเสื่อมของเข่า เช่น กระดูกแตกบริเวณข้อเข่า หรือหมอนรองกระดูกเข่า หรือเอ็นเข่าฉีกขาด โดยภาวะการบาดเจ็บเหล่านี้ทำให้ข้อสบกันไม่สนิท อาจมีบางส่วนของข้อที่มีการกดมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลให้ข้อเสื่อมได้

8. ผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าผู้ชาย

ปัจจัยเรื่องเพศก็มีผลต่อการเสื่อมของเข่าเช่นกัน โดยผู้หญิงจะมีโอกาสเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชายเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะการลดลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยทอง โดยจากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เล่นกีฬาจะมีโอกาสเอ็นข้อเข่าฉีกขาดมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งมีผลต่อการข้อเข่าเสื่อมง่ายในอนาคต

 

รู้อย่างนี้แล้ว หากใครมีพฤติกรรมการออกกำลังกาย หรือการทำงานที่อาจส่งผลให้เกิดการเข่าเสื่อมในระยะยาว ควรลด พัก หรือหันมารักษาเข่าของเรา และบำรุงเข่าเพื่อลดโอกาสการเข่าเสื่อมในอนาคต และสำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้มีอาการของการเข่าเสื่อมหรือไม่ สามารถลองทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงของข้อเข่า ได้ที่นี่



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลในสถิติทั่วโลกที่มีการบันทึก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก รองจากโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลในสถิติทั่วโลกที่มีการบันทึก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก รองจากโรคมะเร็งปอด

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม