Header

ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงขนแขน สัญญาณเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูก-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หนุ่มสาวออฟฟิศที่จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ เคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปวดบริเวณกระดูกคอ บ่า ไหล่ และในบางครั้งก็ปวดร้าวลงไปที่บริเวณแขนเหมือนโดนไฟช็อต มีอาการชาหรืออ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพเหล่านี้ อย่าเพิกเฉยและคิดว่าเดี๋ยวก็หาย เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังได้ เพื่อเป็นการป้องกันความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุ และแนวทางวิธีการป้องกันและรักษาโรคนี้กัน

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมมีอะไรบ้าง?

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มสาเหตุ ได้แก่ กลุ่มที่เกิดจากอุบัติเหตุ และกลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ในส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ ก็มีสาเหตุตรงไปตรงมา นั่นคือ เกิดการบาดเจ็บแล้วส่งผลให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอเคลื่อนหรือไปกดทับส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นไขสันหลังหรือเส้นประสาท ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ คือกลุ่มของบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ และกล้ามเเนื้อแผ่นหลังผิดลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น การนั่งเล่นแท็บเล็ต หรือใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ด้วยบริบทที่ทำให้เกิดการก้มคอที่ไม่เหมาะสม
 

สามารถรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้อย่างไร?

สำหรับกระบวนการทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตรวจวินิจฉัยอาการ ทำให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ง่าย ทำให้ได้ผลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยการรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 กลุ่มอาการไม่รุนแรง รักษาโดยการทานยา ทำกายภาพบำบัด
  • กลุ่มที่ 2 กลุ่มอาการไม่รุนแรง แต่ทานยาแล้วไม่หาย เริ่มรักษาโดยการใช้นวัตกรรม เช่นการใช้คลื่นความร้อน หรือฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทบริเวณคอ ยังไม่มีการผ่าตัด
  • กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ป่วยมีอาการบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัด ตัวอย่างเช่น มีอาการมานานกว่า 6 สัปดาห์ และความรุนแรงของการปวดมากขึ้น ไม่ตอบสนองต่อการรักษารูปแบบอื่น ข้อต่อส่วนหัวไหล่ ข้อศอก อ่อนแรง เสียความสามารถในการใช้มือ หรือการทรงตัว ไปจนถึงภาวะติดเชื้อหรือเนื้องอก
     

สามารถดูแลตัวเองจากโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้อย่างไร?

เราสามารถดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้โดยการลุกยืนประมาณ 1 นาที ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ หากจำเป็นต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ควรหันหน้าให้ตรงกับจอ โต๊ะทำงานจะต้องมีที่พักข้อมือ และหน้าจอจะต้องอยู่ระดับสายตา สำหรับบริบทการนั่ง ควรนั่งให้เต็มก้นบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง เพียงเท่านี้ เราก็สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะการปวดคอ บ่า ไหล่ โรคออฟฟิศซินโดรม หรือที่รุนแรงกว่านั้นก็คือ หมอนรองกระดูกคอหรือกระดูกคอเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้แล้ว



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม