Header

เปรียบเทียบอาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกันไข้มาลาเรียโนวไซ โควิดโอมิครอน และไข้หวัดใหญ่

นอกจากการระบาดของโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้แล้ว ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ระวังโรค “ไข้มาลาเรียโนวไซ” ที่ติดต่อจากลิงสู่คน ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีคนไทยติดเชื้อโรคนี้ 70 คนแล้ว อาการของโรคไข้มาลาเรียโนวไซจะเหมือนหรือแตกต่างจากโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่อย่างไร เรารวมมาให้ดังต่อไปนี้

อาการไข้มาลาเรียโนวไซ

  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • เหงื่อออกมาก

สาเหตุของโรคไข้มาลาเรียโนวไซ

โรคไข้มาลาเรียชนิด “โนวไซ” (Plasmodium knowlesi) เป็นโรคไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน โดยยุงก้นปล่องกัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่ายุงสามารถนำเชื้อจากคนสู่คนได้ ลิงที่เป็นรังโรคในไทย ได้แก่ ลิงกัง ลิงวอก ลิงเสน ลิงแสม และลิงอ้ายเงียะ

ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้เฉลี่ยปีละ 10 รายอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งช่วงปลายปี 2564 และต้นปี 2565 พบว่ามีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 70 ราย โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง สงขลา และตราด

ทางกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ผู้ที่มีประวัติสัมผัสลิงในป่าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว แล้วมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่า เพื่อรีบทำการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากรับการรักษาช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ทำงานในป่า รวมถึงนักท่องเที่ยว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด

วิธีการป้องกันโรคไข้มาลาเรียโนวไซ

สาเหตุต้นตอของโรคไข้มาลาเรียโนวไซมาจากลิงไปสู่ยุง แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่พบว่าจะมีการแพร่จากคนไปสู่คนได้หรือไม่ แต่คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก็ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • สวมเสื้อผ้าสีอ่อนและปกปิดร่างกายได้อย่างมิดชิด เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ใช้ยาที่มีสารไล่แมลงทาผิวหนัง ซึ่งสารไล่แมลงที่มีประสิทธิภาพที่สุด ได้แก่ สาร Diethyltoluamide: DEET ซึ่งมีจำหน่ายทั้งรูปแบบสเปรย์ โรลออน แบบแท่งและครีม ควรทาซ้ำบ่อยๆ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ไม่ควรใช้ในเด็กเล็ก
  • นอนในมุ้งหรือบริเวณที่ปลอดจากยุง อาจใช้มุ้งชุบยาไล่ยุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุง
  • หากสงสัยหรือต้องการตรวจสอบการระบาดของมาลาเรีย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ตรวจสอบและหาข้อมูลได้จากกรมควบคุมโรค โทร. 1422 เพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที

อาการโควิดโอมิครอน

  • เจ็บคอ
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • น้ำมูกไหล
  • จาม
  • ปวดหลังช่วงล่าง
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

สาเหตุของโควิดโอมิครอน

โควิดโอมิครอน เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องจนล่าสุดคือ “โควิดโอมิครอน” ที่แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วที่สุด แม้ว่าอาการและความรุนแรงดูเหมือนจะน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่เป็นเพียงสมมติฐาน ล่าสุดเชื้อโควิดโอมิครอนก็มีสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ตัวหลังนี้แพร่เชื้อได้เร็วกว่า

วิธีป้องกันโควิดโอมิครอน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดโอมิครอนได้ 100% แต่วิธีการดังต่อไปนี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้มาก โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ที่ถึงแม้จะยังสามารถติดเชื้อได้อยู่ แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงของอาการป่วยได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนเลย

  • ใส่หน้ากาก
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของ
  • เว้นระยะห่างกับคนอื่น
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่น
  • ไม่ไปสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม

อาการไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) เป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว อาการมักจะไม่รุนแรง และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการทั่วไปคล้ายกับโควิดค่อนข้างมาก ในระยะเริ่มต้นของอาการป่วยลักษณะนี้ เวลาที่ไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการส่งตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ก่อนอันดับแรก เพื่อตัดประเด็นความคล้ายคลึงกันของอาการออกไป

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ในเด็กสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ส่วนผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดเพื่อป้องกันลูกน้อยที่เพิ่งคลอดยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไข้หวัดใหญ่ด้วย

  • ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  • หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด

จะเห็นได้ว่าวิธีป้องกันตนเองจากไข้หวัดใหญ่กับโควิดแทบไม่ต่างกัน เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางลมหายใจและการสัมผัสนั่นเอง

 

ที่มา : กรมควบคุมโรค

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม