Header

การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

blank กภ.วิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

การฟื้นฟูการกลืนสำหรับผู้สูงอายุด้วยเครื่อง Biofeedback

การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

การกลืนเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการบริโภคอาหารและการดำรงชีวิต การมีปัญหาด้านการกลืนสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน เช่น ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ที่มีปัญหาการกลืนจากกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง

 

กลุ่มผู้รับบริการ

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอ่อนแรง
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
  • ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
  • ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง

การฟื้นฟูการกลืนสำหรับผู้สูงอายุด้วยเครื่อง Biofeedback

เป้าหมายในการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการกลืน

  • ส่งเสริมความสามารถในการรับประทานอาหารทางปากอย่างปลอดภัย
  • เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับสารอาหารและน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  • ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปอดอักเสบจากการสำลัก
  • เพื่อเตรียมความพร้อมผู้รับบริการในการรับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอื่นๆต่อไป ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

 

เครื่องกระตุ้นการกลืน Biofeedback

เป็นเครื่องมือฝึกการกลืน โดยใช้อุปกรณ์ที่แปลสัญญาณทางสรีรวิทยาด้านการกลืนออกมาเป็นภาพและเสียง เรียกว่า Biofeedback โดยเน้นให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนจังหวะ ความแรง สหสัมพันธ์และความทนทานในการกลืนได้

 

วิธีการในการฟื้นฟูการกลืน

โปรแกรมการฟื้นฟูการกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดอาการกลืนลำบากและลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถฝึกกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนให้กลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง

 

วิธีการรับบริการ

  1. ผู้รับบริการเข้ารับการตรวจประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกิจกรรมบำบัด
  2. ออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูเฉพาะบุคคลโดยทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  3. การฟื้นฟูด้วยเครื่อง Biofeedback สามารถใช้ได้กับการฝึกร่วมกับการกลืนน้ำ/อาหารจริงได้ ตามความสามารถของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และนักกิจกรรมบำบัด
  4. ระยะเวลาให้การฟื้นฟูประมาณ 20-45 นาที


 

การฝึกกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ แนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เดินช้า หยิบของช้า ไม่แสดงหน้า อาการสั่น มีปัญหาการเดิน หลาย ๆ คน อาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการตั้งใจทำ แต่จริง ๆ แล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็น อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันต่างหาก

ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ แนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เดินช้า หยิบของช้า ไม่แสดงหน้า อาการสั่น มีปัญหาการเดิน หลาย ๆ คน อาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการตั้งใจทำ แต่จริง ๆ แล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็น อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันต่างหาก