Header

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

"ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง"

ศูนย์หัวใจเเละหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการรักษา โดยมีความพร้อมทั้งในหน่วยงานของแผนกผู้ป่วยนอกเเละผู้ป่วยใน มีห้องสวนหัวใจเเละหลอดเลือด
พร้อมทั้งบุคลากร ทีมผ่าตัด ซึ่งพร้อมให้บริการการรักษาผู้ป่วยในด้านกลุ่มหัวใจ เเละหลอดเลือดต่าง ๆ 
โดยมีการทำหัตถการ เฉพาะบุคคลมีทีม เเพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ เเละศัลยเเพทย์ผ่าตัดหัวใจพร้อมทีมพยาบาลวิชาชีพ ดูเเลตลอด 24 ชั่วโมง

 

  • บริการครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  • พร้อมด้วยห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดที่ทันสมัย
  • ทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ และศัลยแพทย์หัวใจดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
  • หัตถการเฉพาะบุคคลในกลุ่มโรคหัวใจ หลอดเลือด และระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ
  • มีเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใส่ขดลวดค้ำยันหัวใจ การกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การผ่าตัดหลอดเลือดสมอง
  • ทีมพยาบาลวิชาชีพพร้อมดูแลอย่างใกล้ชิด

หัตถการที่ให้บริการของห้องสวนหัวใจ

กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ

  • การสวนหัวใจและการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
  • การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน และใส่ขดลวดค้ำยัน

ระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ

  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (PPM)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ โดยใช้เครื่อง ICD
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ โดยใช้เครื่อง CRTD

กลุ่มหลอดเลือดส่วนปลาย

  • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณ หลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
  • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต
  • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณ หลอดเลือดส่วนปลาย

หัวใจพิการแต่กำเนิด

  • การปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน – ล่าง
  • การปิดเส้นเลือด ductusarteriosus ซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่าง aorta และpulmonary artery

กลุ่มหลอดเลือดสมอง

  • การรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันตัน (mechanicalthrombectomy)

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดพร้อมดูเเล

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ผู้ที่ต้องการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดต้องการตรวจสุขภาพหัวใจ

  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด

 

เรามีบริการการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ “EST” (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ วิ่งสายพาน “EST” (Exercise Stress Test)

คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งสายพานเพื่อให้แพทย์ตรวจการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ และตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายต้องออกแรง กล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดหรือไม่ จากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในเบื้องต้น โดยแพทย์จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ (Arrhythmia) และการขาดเลือดของหัวใจ รวมถึงอาการแสดงอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก 

 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง “ECHO” (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ ตรวจเอคโค่หัวใจ “ECHO” (Echocardiogram)

คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงและแปลเป็นภาพ แพทย์จะเห็นทั้งรูปร่าง และขนาดของหัวใจ รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น สำหรับวิธีนี้แพทย์จะใช้ประเมินการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ เหนื่อย บวม ที่สงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจ หรือคนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เพื่อดูการเคลื่อนไหวของหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่ เช็คภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ หัวใจโต  หัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อ

 

การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ “CTA Coronary / Cardiac Artery” (Coronary Computed Tomographic Angiography)

การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เช็คระดับความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หรือใช้ติดตามผลการรักษา คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
สำหรับวิธีนี้เป็นการเตรียมผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ก่อนทำการผ่าตัด หรือทำหัตถการใหญ่ ๆ และหลังจากการตรวจ แพทย์ด้านหัวใจ จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม หากพบความผิดปกติ อาจจะปรับการใช้ยา ปรับพฤติกรรมคนไข้ หรือแนะนำฉีดสีสวนหัวใจ ในการทำหัตถการอื่น ๆ ต่อไป

 

ดังนั้นถ้าหากคุณ หรือคนใกล้ตัวที่คุณรัก ลองสังเกตอาการตัวเองว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือไม่ อย่าปล่อยไว้ให้อาการรุนแรง

แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อช่วยประเมินและคัดกรอง ความเสี่ยง ในการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

พญ.ศิริพร อธิสกุล

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.นรารัตน์ จันทรบุตร

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเมินโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ประเมินโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถติดต่อสอบถามเราได้ 02-080-5999 หรือ LINE: @psuv

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประเมินโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ประเมินโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถติดต่อสอบถามเราได้ 02-080-5999 หรือ LINE: @psuv

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยเราได้รวบรวมวิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค ที่นอกจากจะดูแลหัวใจของคุณแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ทุกคน แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยเราได้รวบรวมวิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค ที่นอกจากจะดูแลหัวใจของคุณแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ทุกคน แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม