Header

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

17 มีนาคม 2566

นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

- การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้อง เข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ และถ่ายทอดเป็นภาพออกมาให้เราได้เห็นภายในอวัยวะที่เราสนใจ

- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าปากทวารหนัก เพื่อทำการตรวจลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อประเมินว่ามีรอยโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วยหรือไม่

ประโยชน์ที่สามารถได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ 

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และหากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ ซึ่งมีความเสี่ยงในการ กลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต จะสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ใครบ้างที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

- เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่า จะมีรอยโรคอยู่ในลำไส้ใหญ่และจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง

- เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำตั้งแต่อายุ 50-75 ปี เป็นต้นไป หรือมีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก โดยไม่พบสาเหตุ นน.ลดเยอะ ร่วมกับมีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

- เริ่มต้นจากการตรวจและประเมินโดยแพทย์ ว่ามีข้อบ่งชี้ และสภาวะของผู้ป่วยมีความเหมาะสม ในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย

- การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้อง เพื่อจะได้ได้ทำการประเมินได้อย่างเหมาะสม ไม่มีอุจจาระหรือกากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้ ซึ่งอาจรบกวนการตรวจวินิจฉัย โดยแนะนำให้ 2 วันก่อนการตรวจ ทานอาหารย่อยง่าย งดผลไม้ที่มีกากใย

- 1 วันก่อนการตรวจ รับประทานอาหารเหลวใส ได้แก่ ซุปใส น้ำหวาน หรือน้ำผักผลไม้ที่แยกกากแล้ว

- ผู้ป่วยจะได้รับการสั่งยาระบาย เพื่อเตรียมลำไส้ ขอให้รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ

- งดน้ำ อาหารและเครื่อง ดื่มทุกชนิดก่อนมารับการตรวจอย่างน้อย 6 -8 ชั่วโมง

- แจ้งโรคประจำตัว, ยาที่รับประทานประจำ และยาที่แพ้ ให้แพทย์ทราบเมื่อมาถึงรพ.

ขั้นตอนเมื่อมาถึงศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร

- ผู้ป่วยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพ และประเมินอาการก่อนทำการส่องกล้อง

- ขณะเข้ารับการตรวจ จะได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างส่องกล้อง

- แพทย์จะใส่กล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อทำการตรวจประเมิน ซึ่งกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที

- ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจ ผู้ป่วยอาจยังมีอาการง่วงซึม จากยาระงับความรู้สึก จะได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว สามารถกลับบ้านหรือย้ายขึ้นห้องพักผู้ป่วยได้

คำถามที่พบบ่อย

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เจ็บไหม ต้องฉีดยาให้หลับ?

- การส่องกล้อง ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างกระบวนการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันความไม่สุขสบายขณะทำ 

มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องนอนร.พ.?

- โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถเข้ารับการตรวจและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัว อย่างไรก็ตามผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ

- ทั้งนี้ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในรพ. โดยพิจารณาเป็นกรณีไป

บทความโดย :  นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกตา หู คอ จมูก

พญ.พรรักษ์ ศรีพล

จักษุวิทยาโรคต้อหิน

แผนกตรวจสุขภาพ

นพ.ธรรมรงค์ นิมจิรวัฒน์

อาชีวเวชศาสตร์

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

รศ.นพ.สรวุฒิ ธรรมยงศ์กิจ

ศัลยแพทย์กระดูก/เวชศาสตร์การกีฬา/การบาดเจ็บทางกระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด MIS ช่วยอาการ บาดเจ็บ น้อยลง

MIS ช่วยให้อาการ บาดเจ็บ ของผู้ป่วยน้อยลง แผลเล็ก ฟื้นตัวรวดเร็ว ใช้เวลาพักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 คืน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด MIS ช่วยอาการ บาดเจ็บ น้อยลง

MIS ช่วยให้อาการ บาดเจ็บ ของผู้ป่วยน้อยลง แผลเล็ก ฟื้นตัวรวดเร็ว ใช้เวลาพักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 คืน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม