Header

คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

โรคนิ้วล็อก โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เราอาจพูดได้ว่ากลุ่มคนทำงานในออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อคเพิ่มมากขึ้น ก็ไม่น่าผิดเพี้ยนมากนัก โดยระยะเริ่มแรกสังเกตุง่ายสุด คือ มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว

สาเหตุของโรคนิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ตรงบริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้วทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
 


 

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อค

  1. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น แม่บ้าน, พนักงานออฟฟิศ, คนทำอาหาร, ช่างฝีมือด้านต่างๆ, แพทย์, ทันตแพทย์, หรือคนสวน เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติ

อาการของโรคนิ้วล็อค

โดยทั่วไปอาการของโรคนิ้วล็อคจะเริ่มต้นจากอาการเล็กน้อย และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ระยะที่ 1: มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว กดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด

ระยะที่ 2: อาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว

ระยะที่ 3: เมื่องอนิ้วลงจะมีอาการติดล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หากมีอาการมากขึ้นจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

ระยะที่ 4: มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ และอาการปวดรุนแรงมากขึ้น
 

การรักษาโรคนิ้วล็อค

การรักษาโรคนิ้วล็อคมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

  1. ให้รับประทานยาในกลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ และพักการใช้งานของมือไม่ใช้งานรุนแรง
  2. ใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบาๆ การประคบร้อน และการทำกายภาพบำบัด
  3. การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เฉพาะที่ ลดอาการบวมของเส้นเอ็นแต่กรณีฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียวระยะเวลาสั้นๆ และสามารถกลับมาทำซ้ำได้ในระยะเวลาไม่นาน ข้อจำกัดในการรักษานี้คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อนิ้วที่เป็นโรค
  4. การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เผื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวกไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที ระวังแผลหลังผ่าตัดไม่ให้โดนน้ำ


 

บริหาร 3 Step คลายนิ้วล็อก ด้วยตนเอง

  1. กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกของระดับไหล่ ใช้มือหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น – ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1 – 10 แล้วปล่อย ทำ 5 – 10 ครั้ง/เซต
  2. บริหารการกำ – แบมือ โดยฝึกกำ – แบ เพื่อการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6 – 10 ครั้ง/เซท (กรณีนิ้วล็อคไปแล้ว งดทำท่าที่ 2)
  3. หากเริ่มมีอาการปวดตึง แนะนำให้แช่มือในน้ำอุ่นไว้ 15 – 20 นาทีทุกวัน (วันละ 2 รอบ เช้า – เย็น) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์แลพทำการรักษาทางกายภาพต่อไป

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

  1. ไม่หิ้วของหนักเกิน และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  2. ควรใส่ถุงมือ หรือ ห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้น และจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
  3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยหรือระบมควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
  4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
  5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือ กำ-แบ ๆ ในน้ำเบาๆ จะทำให้ข้อฝืดลดลง
  6. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ การบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เพื่อให้กำแน่นๆ

 
 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม (PRINCE of BONES)  | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

นพ.ธีรเมศร์ ไกรสินธุ์

ศัลยแพทย์กระดูก/ข้อสะโพก และข้อเข่า

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

นพ.นิธิศ ศรีอุเทนชัย

ศัลยแพทย์กระดูก/ภาวะบาดเจ็บ (กระดูกหักและข้อเคลื่อน)

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม