Header

โรคข้อสะโพกเสื่อม

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคข้อเสื่อม เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด ข้อสะโพกเป็นส่วนหลักที่รับน้ำหนักเกือบทุกการเคลื่อนไหวของร่างกาย การเสื่อมเกิดได้บ่อยที่กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในกลุ่มที่อายุน้อยถ้ามีสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย

โรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดจากอะไร?

  • พันธุกรรม หรือความผิดปรกติของโครงสร้างแต่กำเนิด เช่น เบ้าสะโพกตื้น เป็นต้น
  • การบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก เช่น เคยมีข้อสะโพกเคลื่อนหลุดหรือแตกหัก
  • การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวกระดูกต้นขา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือประวัติอุบัติเหตุ ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเสียหาย
  • โรคข้ออักเสบ ซึ่งส่งผลต่อข้อสะโพก ที่รู้จักกันดีเช่นโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • การติดเชื้อที่ข้อสะโพกในอดีต

อาการของโรค

  • อาการปวดข้อ มักปวดที่ขาหนีบด้านหน้า หรือบริเวณหน้าขา เนื่องจากข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่ขนาดใหญ่ การปวดอาจไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจน
  • อาการติดขัดในข้อ
  • เมื่อเป็นระยะที่มีความเสื่อมมากขึ้น อาจไม่สามารถขยับในบางท่าทางได้ เช่น เหยียดได้ไม่สุด หมุนขาไม่ได้
  • กล้ามเนื้อที่ควบคุมข้อสะโพกอ่อนแรงและลีบลง เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเพราะอาการเจ็บปวด
  • เมื่อเป็นมากขึ้นอีก พบว่าขาข้างที่เป็นมากจะสั้นลง เนื่องจากมีการสูญเสียกระดูกบริเวณหัวสะโพกที่เสียดสีกัน

การวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • การซักประวัติอาการเจ็บป่วย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำรวมถึงสมุนไพร (เพราะอาจมีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม) และการตรวจร่างกาย
  • การเอกซเรย์ข้อสะโพก
  • การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การสแกนด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การดูแลรักษา

  • การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด ใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมในระยะแรก
    • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ได้แก่ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
    • หากมีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการปวดและชะลอการดำเนินโรค
    • รับประทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร ไม่ควรซื้อยารับประทานเองติดต่อกันเป็นเวลานาน
    • กายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อ และลดโอกาสข้อติด
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
    • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง จะใช้เมื่อกระดูกอ่อนในข้อสะโพกฉีกขาดหรือมีเศษกระดูก/กระดูกอ่อนหลุดออกมาอยู่ในข้อ เสียดสีกับข้อ ขัดขวางการเคลื่อนไหวจนทำให้ขยับได้ลำบาก
    • การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เป็นการผ่าตัดเพื่อหมุนพื้นผิวของข้อที่ยังปกติเข้าสัมผัสกัน จะใช้เมื่อมีบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เสียหายแต่ที่อื่นปกติ
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จะใช้ในผู้ที่มีข้อสะโพกเสื่อมที่มีอาการปวดมากหรือผิดรูป จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่นี่

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโต

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโต