Header

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ด้วยเทคนิคส่องกล้อง

นพ.นรนนท์ บุญยืน

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ด้วยเทคนิคส่องกล้อง - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคอ้วน นอกจากจะทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย ส่งผลเสียทั้งสุขภาพและการดำเนินชีวิต การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก (bariatric surgery) เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐาน ในการรักษาโรคอ้วน รวมถึงโรคแทรกซ้อนจากความอ้วนต่างๆ การผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยทุกวิธีจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง แผลมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวไว้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ในเวลาอันสั้น รวมถึงลดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแผลใหญ่ได้มาก 
 

โรคอ้วนคืออะไร?

คำนิยามของโรคอ้วน คือ ภาวะที่มีการสะสมของสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ การวินิจฉัยโรคอ้วนโดยการวัดอัตราส่วนไขมันนั้นจะแม่นยำ แต่ทำได้ยากกว่า ทางองค์การอนามัยโลกจึงใช้ ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนดโดยสำหรับชาวเอเชีย ถ้าค่า BMI > 25 kg/m² ถือว่าเป็นโรคอ้วน และ ถ้า >30 kg/m² ถือว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง (ระดับ2) 

 

ดัชนีมวลกายเท่าไหร่? เรียกว่า “อ้วน”

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานแสดงสภาวะความสมดุลของร่างกาย คำนวณโดยใช้สูตร

 

“ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)”

 

คนปกติ (ชาวเอเชีย) ควรมีค่า BMI อยู่ที่ 18.5 – 22.9 kg/m² หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ

  • ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
  • ค่า BMI  25.0 -29.90 kg/m²  “อ้วนระดับ 1”
  • ค่า BMI  มากกว่า 30 kg/m²  อ้วนระดับ 2 (อ้วนทุพพลภาพ หรือ อ้วนรุนแรง)

หากดัชนีมวลกาย (BMI) เกินกว่า 25 kg/m² ถือว่าเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน (Obesity) จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก ควบคุมปริมาณ น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนตามมา

 

ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตมีความเร่งรีบ การเลือกทานอาหารลดน้อยลง ตามสถิติขององค์การอนามัยโลกคนไทยเกือบ 1 ใน 3 มีน้ำหนักตัวมากจนเป็นโรคอ้วนแล้ว เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากมาเลเซีย ส่วนประเทศที่ประชากรเฉลี่ยอ้วนที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา และจีน



โรคร่วมที่เกิดจากโรคอ้วน ควรระวัง!!

นอกจากจะเป็นโรคอ้วนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคร่วมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายตามมาโดยอาจจะไม่รู้ตัวอีกด้วย ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่2
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea:OSA)
  • ถุงน้ำรังไข่ ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
  • โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease :NAFLD) /โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis:NASH)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease)
  • ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย โดยเฉพาะข้อรองรับน้ำหนัก เช่น หลัง สะโพก เข่า ข้อเท้า
  • หอบหืด เหนื่อยง่าย
  • เส้นเลือดสมอง แตก ตีบตัน
  • มะเร็งบางชนิด

โรคร่วมเหล่านี้ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย การป้องกันและจัดการกับโรคอ้วน โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์มีความสมดุลพอดีต่อความต้องการของร่างกาย หากเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดน้ำหนักได้มากพอ จะส่งผลให้โรคร่วมหลายชนิดสามารถดีขึ้นจนถึงหายขาดได้ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต


 

เมื่อไรควร “ผ่าตัด” ?

ผู้ที่มีภาวะอ้วน ต้องเผชิญกับการลดน้ำหนัก บางคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวขึ้นได้จนเป็นปัญหาต่อสุขภาพ การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนที่เป็นโรค ซึ่งคุณสมบัติ ข้อแนะนำในการรักษา มีดังนี้

  • ผู้รับบริการควรต้องมี อายุ 18-65 ปี สำหรับอายุนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์พิจารณาในรายละเอียด
  • มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
    • มีดัชนีมวลกาย(BMI) 37.5 kg/m²  ขึ้นไป
      • มีดัชนีมวลกาย(BMI) 32.5 kg/m²  ขึ้นไป มีโรคร่วม และมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
      • เบาหวานชนิดที่2 (Diabetes Mellitus Type2)
      • ความดันโลหิตสูง (Hypertension) 
      • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia or Hyperlipidemia)
      • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea :OSA)
      • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
      • โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease :NAFLD) / โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis :NASH)
      • โรคหัวใจ และหลอดเลือด (Cardiovascular diseases)
      • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
      • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency :CVI)
      • โรคหลอดเลือดสมอง (CVD)
      • น้ำหนักผิดปกติจากผลของฮอร์โมน
      • น้ำหนักผิดปกติที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
    • ผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ และมีค่าดัชนีมวลกาย 30.0 kg/m²  ขึ้นไป โดยทั้งสองกรณี ผู้รับบริการได้พยายามควบคุมอย่างเต็มที่แล้วโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมต่อมไร้ท่อและโภชนาการ แต่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย 

หลังจากการผ่าตัดต้องมีการปรับพฤติกรรม และการควบคุมปริมาณอาหารทานให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย โดยการแนะนำจากทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อส่งผลให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว

 

โรคอ้วนรักษาอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วโรคอ้วนมักขึ้นอยู่กับวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ทั้งด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งหลัก ๆ แล้วโรคอ้วนสามารถรักษาได้ดังนี้

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Weight management:Lift style and Behavior modification,Medical treatment) เป็นการจัดการน้ำหนักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งเทคนิคกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และด้านโภชณาการที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย
 

2.การรักษาโดยยา (Medical Treatment)

  • ปัจจุบันยาที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ช่วยลดน้ำหนักได้ มีหลายชนิด โดยกลุ่มที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ โดยที่ผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มอื่น และเป็นที่นิยมได้แก่ ยากลุ่ม GLP1 Agonist ซึ่งจะช่วยเพิ่มประวิทธิภาพการทำงานของฮอ์โมนความอิ่ม ลดระยะเวลาการย่อยอาหาร ทำให้ผู้ใช้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ความอยากอาหารลดลง ทั้งนี้ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากยา

3.วิธีการผ่าตัด Bariatric Surgery เป็นการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก ก่อนที่จะพิจารณาการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาและอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อลดความเสี่ยงและพิจารณาเลือกการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะตัวบุคคล

 

การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบส่องกล้องมี 3 วิธีหลัก

  • ผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดที่ทำมากที่สุด ความซับซ้อนน้อยกว่าวิธีอื่น  โดยการใช้อุปกรณ์ตัดเย็บแบบพิเศษ ทำการตัดแต่งกระเพาะให้เรียวตรงให้เหลือประมาณ 15-20% ส่งผลให้ลดฮอร์โมนความอยากอาหาร (Ghrelin) ทำให้ทานได้น้อยลง ผู้ป่วยจะหิวลดลงอย่างชัดเจน ร่วมกับทานได้น้อยลง จึงทำให้สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 60-70% ภายใน 1 ปีหลังผ่าตัด โอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ มีน้อยกว่าผ่าตัดแบบอื่น ๆ 
  • ผ่าตัดแบบบายพาส (Gastric bypass) เป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนขึ้น โดยการผ่าตัดกระเพาะให้เป็นกระเปาะ ประมาณ 25-30 ซีซี  ร่วมกับการผ่าตัดบายพาสลำไส้เล็ก หลังผ่าตัดจะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงานของ “ฮอร์โมนความอิ่ม” ลดความหิว ทานได้น้อยลง และลดการดูดซึมอาหาร สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานรุนแรง วิธีนี้สามารถช่วยเรื่องเบาหวานได้ดีกว่าวิธีแรก และผลลัพธ์ดีในผู้ป่วยอ้วนที่มีภาวะโรคกรดไหลย้อน แต่โอกาสเกิดภาวะ ขาดวิตามิน แร่ธาตุ มีมากกว่า โดยเฉพาะวิตามิน B12 ซึ่งจำเป็นต้องรับวิตามินเสริมต่อเนื่องทุก 6-12 เดือน
  • ผ่าตัดแบบสลีฟพลัส (Sleeve gastrectomy Plus) เป็นวิธีการผ่าตัดที่พัฒนามาจากการผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) และการผ่าตัดแบบบายพาสลำไส้เล็กให้ระยะดูดซึมสารอาหารสั้นลง ซึ่งผลลัพธ์สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% และผลลัพธ์การช่วยในโรคเบาหวาน ดีเทียบเท่าแบบบายพาส โดยวิธีสลีฟพลัสนี้ จะแบ่งเป็นวิธีย่อย ๆ ที่แตกต่างกันได้อีกหลายวิธีตามความเหมาะสมของคนไข้ 



 

การผ่าตัดกระเพาะเหมาะกับใคร ?

สำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกคน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับ กับความเสี่ยงของการผ่าตัดรวมถึงตรวจร่างกาย เพื่อดูความพร้อมของสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล สามารถประเมินเบื้องต้นจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >32.5 kg/m² ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >37.5 kg/m² เหล่านี้ เข้าเกณฑ์ที่แนะนำว่าสามารถผ่าตัดได้ กรณีอื่น ๆ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญได้เช่นกัน


 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังการผ่าตัดกระเพาะ

  • ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยที่น้ำหนักมาก, โรคประจำตัวมาก หรือเคยผ่าตัดช่องท้องมาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดมากขึ้น
  • ภาวะการขาดวิตามิน เกลือแร่ เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะทำให้ผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง  ส่งผลให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณน้อยลงด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยต้องได้รับวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดทดแทนต่อเนื่อง แต่ในภาพรวม จากน้ำหนักที่ลดลง การดีขึ้นของโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน การทานวิตามินทดแทนนั้น อาจคุ้มค่ากว่าการที่ต้องทานยารักษาโรคต่าง ๆ หรือฉีดยา เช่น ยาความดัน ยาเบาหวาน ยาไขมันไปตลอดชีวิต


 

การผ่าตัดมีความเสี่ยงไหม?

ความเสี่ยงจากการผ่าตัดอาจเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคประจำตัว การรั่วซึม ภาะวะเลือดออกจากบริเวณจุดตัดต่อ เป็นต้น โดยโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนมีไม่มาก (น้อยกว่า 1-3%) เมื่อเทียบกับ ผลลัพธ์โอกาสการหายจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อน (มากกว่า 70-80%) รวมถึงคุณภาพชีวีิตที่ดีขึ้น

เพื่อลดโอากาสการเกิดผลแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดด้วยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดโรคอ้วน 2 คน ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีความแม่นยำสูง มีการเตรียมคนไข้ก่อนผ่าตัดโดยทีมอายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพส่งผลให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี 



 

ทำไม! ต้องผ่าตัดที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นำทีมโดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง ศัลยแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องและโรคอ้วน และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ร่วมกับเทคโนยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย และห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐานปลอดเชื้อเหมาะกับการผ่าตัดใหญ่ การติดตามผู้ป่วยในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

ข้อดีของการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร 

 

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร ช่วยให้คนไข้ลดน้ำหนักตัวได้ประมาณ 15% ของน้ำหนักตัวเดิม ภายในเวลา 1-2 ปี และผลการลดน้ำหนักนี้จะคงอยู่ได้นานอย่างน้อยถึง 5 ปี ซึ่งดีกว่าวิธีการรักษาด้วยการใส่บอลลูนไปในกระเพาะอาหาร (Intra-gastric balloon) ซึ่งให้ผลเพียงระยะสั้น ๆ หากคนไข้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการ น้ำหนักที่ลดลงนี้ นอกจากช่วยให้คนไข้มั่นใจในขนาดรอบเอวที่เล็กลง ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคข้างเคียงที่มาพร้อมกับความอ้วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสม (A1C) และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยปรับความดันโลหิต รวมถึงการทำงานของตับให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเย็บกระเพาะอาจไม่ช่วยลดไขมันในเลือด (LDL) คนไข้จึงควรควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายร่วมด้วย
 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

พญ.สิริรัตน์ พุทธศิริวัฒน

​อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

พญ.ปรมาภรณ์ สุทธิรัตน์

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Q&A ดูดไขมัน อันตรายไหม

Q1 : ดูดไขมันอันตรายไหม ? A1 : การดูดไขมันไม่อันตราย ถ้าการผ่าตัดอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญ และมีประสบการณ์

นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Q&A ดูดไขมัน อันตรายไหม

Q1 : ดูดไขมันอันตรายไหม ? A1 : การดูดไขมันไม่อันตราย ถ้าการผ่าตัดอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญ และมีประสบการณ์

นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก (TAVI) นวัตกรรมการรักษาลิ้นหัวใจตีบ

เปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก (TAVI) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง ด้วยเทคโนโลยีที่ลดความเสี่ยง ฟื้นตัวไว และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม

ซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก (TAVI) นวัตกรรมการรักษาลิ้นหัวใจตีบ

เปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก (TAVI) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง ด้วยเทคโนโลยีที่ลดความเสี่ยง ฟื้นตัวไว และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ