Header

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

คลอดธรรมชาติกับผ่าตัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

คลอดธรรมชาติ VS ผ่าคลอด

 

คลอดธรรมชาติ

การคลอดธรรมชาติคือการคลอดโดยธรรมชาติโดยไม่มีการใช้เครื่องมือหรือการช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ เช่น การใช้ยาแก้ปวดหรือการผ่าตัด

 

ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติที่โรงพยาบาล

  • อาการที่นำมาโรงพยาบาล : เจ็บท้องถี่ มีน้ำเดิน
  • ถึงห้องคลอด : ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ฟังเสียงหัวใจทารก ทำความสะอาดร่างกาย
  • รอคลอด : ประเมินการเปิดปากมดลูก ฟังเสียงหัวใจทารก ให้ยาระงับปวด
  • เบ่งคลอด เมื่อปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร
  • ทำคลอดบุตร
  • ทำคลอดทารก เย็บแผลฝีเย็บ
  • การดูแลหลังคลอด

 

ข้อดีในการคลอดธรรมชาติ

  • แผลเล็ก
  • เสียเลือดน้อย
  • ฟื้นตัวเร็วกว่า
  • ให้นมได้เร็ว
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก
  • ลดความเสี่ยงภาวะทารกหายใจเร็ว

 

ข้อเสียในการคลอดธรรมชาติ

  • กำหนดวัน/คาดเดาไม่ได้
  • อุ้งเชิงกรานหย่อนมากกว่า?
  • หากคลอดไม่ได้ต้องเปลี่ยนไปผ่าตัดคลอด

 

การผ่าคลอดบุตร

การผ่าคลอดมักจะเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาความปลอดภัยสำหรับแม่และทารกในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงสูง

 

ขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด

  • งดน้ำ งดอาหาร
  • นัดมานอนโรงพยาบาล
  • ตรวจร่างกาย ฟังเสียงหัวใจทารก
  • ทำความสะอาดร่างกาย เตรียมก่อนผ่าคลอด
  • ย้ายเข้าห้องผ่าตัด
  • ระงับความรู้สึกด้วยวิธีบล็อคหลัง โดยวิสัญญีแพทย์
  • ผ่าตัดทำคลอดบุตร โดยสูติแพทย์
  • การดูแลระยะหลังคลอด

 

ข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดบุตร

  • เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน
  • มีแผลที่มดลูก เช่น ผ่าตัดเนื้องอกมดลูกมาก่อน
  • รกเกาะต่ำ
  • ทารกท่าก้น/ขวาง
  • ย้ายเข้าห้องผ่าตัด
  • ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศรีษะทารก และอุ้งเชิงกราน
  • ทารกอยู่ในภาวะคับขัน

 

ข้อดีในการผ่าคลอด

  • กำหนดเวลาได้
  • ไม่ต้องรอคลอดนาน
  • ไม่เจ็บตอนคลอดบุตร
  • สามารถทำหมันได้เลย

 

ข้อเสียในการผ่าคลอด

  • ปวดแผลมากว่า ฟื้นตัวช้ากว่า ให้นมได้ช้ากว่า
  • เสียเลือดมากกว่า
  • เสี่ยงรกเกาะต่ำ รกเกาะลึกมากกว่า
  • เสี่ยงมดลูกแตก พังผืดในช่องท้อง บาดเจ็บอวัยวะข้างเคียง ตัดมดลูก
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการบล็อกหลัง หรือ ยาดมสลบ
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
  • เสี่ยงภาวะทารกหายใจเร็วมากกว่า

 

**กรณีไม่มีข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดบุตร การคลอดบุตรทางช่องคลอดเป็นวิธีที่ปลอดภัยและเหมาะสม และเป็นวิธีที่แนะนำแต่หากหญิงตั้งครรภ์ยืนยันที่จะผ่าตัดคลอด และแพทย์ผู้พิจารณาถึง ปัจจัยเสี่ยง ความเหมาะสม และความเชื่อ/เจตคติของมารดาแล้ว แนะนำไม่ให้ผ่าตัดคลอดก่อนอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ และแนะนำให้แจ้งความเสี่ยงของการเกิด รกเกาะต่ำ รกเกาะลึก การตัดมดลูก ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละการตั้งครรภ์ด้วย



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมตัว ฝากครรภ์คุณภาพ

คุณแม่หลาย ๆ ท่าน คงตื่นเต้น และกังวลกับการตั้งครรภ์ ยิ่งท้องแรกความกังวลอาจจะมากป็นพิเศษ แต่!!อย่ากังวลจนเกินไปนะคะ เรามาเตรียมตัวเพื่อลูกน้อยกับ การ "ฝากครรภ์คุณภาพ” กันนะคะ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมตัว ฝากครรภ์คุณภาพ

คุณแม่หลาย ๆ ท่าน คงตื่นเต้น และกังวลกับการตั้งครรภ์ ยิ่งท้องแรกความกังวลอาจจะมากป็นพิเศษ แต่!!อย่ากังวลจนเกินไปนะคะ เรามาเตรียมตัวเพื่อลูกน้อยกับ การ "ฝากครรภ์คุณภาพ” กันนะคะ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วีธีการดูแลคุณแม่มือใหม่ อายุครรภ์ 1-9 เดือน

เมื่อคุณผู้หญิงเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์ผู้ชำนาญการในการดูแลครรภ์ เพื่อให้ตลอดระยะเวลา 9 เดือน

วีธีการดูแลคุณแม่มือใหม่ อายุครรภ์ 1-9 เดือน

เมื่อคุณผู้หญิงเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์ผู้ชำนาญการในการดูแลครรภ์ เพื่อให้ตลอดระยะเวลา 9 เดือน