Header

เรื่องของหัวใจ อย่านิ่งนอนใจ

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เรื่องของหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เรื่องของหัวใจ อย่านิ่งนอนใจ

ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของคนไทย จากโรคกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มักจะไม่แสดงอาการ และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและพบบ่อย รวมถึงพบมากขึ้นในคนทุกเพศทุกวัย และไม่จำกัดอายุ

“โรคหัวใจ” เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทุกคนควรต้องตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะว่าทุกวินาทีมีความหมาย และเราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์สูญเสีย ทั้งกับตัวคุณและคนที่คุณรัก

ที่สำคัญ เรามาลองสังเกตตัวเองกันดีกว่า และถ้าพบความผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

 

สัญญาณอันตรายควรรีบพบแพทย์โรคหัวใจ!

  • เจ็บตรงกลางหน้าอก แน่นหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย
  • จุกแน่น อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย
  • เจ็บไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย กรามหรือคอด้านซ้าย
  • อาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ
  • เหงื่อซึม หน้ามืดคล้ายจะหมดสติ หรือ เป็นลมหมดสติอยู่บ่อย ๆ
  • เหนื่อยหอบ จนตัวโยน
  • เหนื่อย ตอนที่ออกกำลังกาย
  • ขา หรือเท้าบวม
  • ปลายนิ้วมือ ปลา เท้าบวมยนิ้วเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ

หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคหัวใจ

โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจตามมาด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • โรคหลอดเลือดในสมองขาดเลือด อาจตามมาด้วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ และโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง และท้ายที่สุด อาจจะนำมีซึ่งโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว การดูแลตัวเองและหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองจึงเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ เราควรแบ่งเวลาการทำงาน พักผ่อน  หมั่นออกกำลังกาย ลดความเครียด ปล่อยวางภาระงาน และเวลาพักผ่อนส่วนตัว เพื่อให้หัวใจได้พัก และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงงดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำร้ายหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ ลดอาหารไขมันสูง และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยง เพียงเท่านี้ “คุณ” ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเบื้องต้น

 

อย่าลืม! หากพบความผิดปกติของหัวใจเล็กน้อย ควรรีบมาพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูแล

 

บทความโดย ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของค่าความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตบ่งบอกถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ การรู้วิธีอ่านค่าความดันซีสโตลิกและไดแอสโตลิกจะช่วยให้คุณรักษาสุขภาพได้ดีขึ้น

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความหมายของค่าความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตบ่งบอกถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ การรู้วิธีอ่านค่าความดันซีสโตลิกและไดแอสโตลิกจะช่วยให้คุณรักษาสุขภาพได้ดีขึ้น

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ

ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?