Header

เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง
 

ผลที่ตามมาเมื่อป่วยเบาหวาน

เมื่อป่วยเป็นเบาหวานก็จะทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ กินจุแต่น้ำหนักลด เพลีย ชาปลายมือ ปลายเท้า แต่สิ่งที่น่ากลัวคือถ้ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ ก็จะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า และระบบประสาท

 โรคเบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าคุมเบาหวานไม่ได้  

  • โรคหลอดเลือดสมอง

           ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานเลยทีเดียว เพราะเมื่อป่วยเบาหวานเป็นเวลานานจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว จนเกิดการตีบหรืออุดตันได้นั่นเอง ความน่ากลัวของโรคนี้คือมักมองไม่เห็นอาการมาก่อน แต่จู่ ๆ ก็เกิดอาการขึ้นกระทันหัน จนถึงขั้นอัมพฤกษ์ อัมพาต พิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดี หากพบอาการปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลทันทีภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

           ผู้ป่วยเบาหวานนั้นผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายมักจะเสื่อมลง จนมีโครงสร้างและทำหน้าที่ได้ผิดปกติไป จนหลอดเลือดต่าง ๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบจนปริแตก และทำให้มีลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันได้นั่นเอง ซึ่งโดยปกติสามารถสังเกตอาการได้จากอาการเจ็บหน้าอก แต่ในผู้ป่วยเบาหวานนั้นอาจจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยแทน เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น อึดอัดบริเวณลิ้นปี่ หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น คล้ายจะเป็นลม ซึ่งมักมีอาการหลังจากรับประทานอาหารในปริมาณมาก หลังตื่นนอนตอนเช้า หลังออกกำลังกาย หรือขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ

เบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์-สุวรรณภูมิ

 

  • เบาหวานขึ้นตา

           เป็นอีกอาการแทรกซ้อนที่เกิดได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากเส้นเลือดที่จอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ ตามัว มองเห็นแย่ลง แยกแยะสียาก และหากมีอาการรุนแรง แล้วปล่อยไว้ ไม่เข้ารับการรักษา ก็อาจทำให้สุดท้ายแล้วต้องสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

  • ไตวาย

           เมื่อเป็นเบาหวาน ไตนั้นจะทำงานหนักตลอดเวลาจนเสื่อมสภาพ เนื่องจากต้องกรองน้ำตาลที่เป็นสารอาหารอยู่ตลอด รวมถึงมีการสะสมของน้ำตาลในผนังหลอดเลือดเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดตีบและอุดตัน ไตจึงไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้หน่วยไตเสื่อม จึงทำให้มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะ ทำให้มีโปรตีนในเลือดต่ำ จนเป็นสาเหตุให้ไตวายได้นั่นเอง

  • เส้นประสาทเสื่อม

           โรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทนั้นเกิดพยาธิสภาพ จนเส้นประสาทไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้อีกต่อไป เช่น รู้สึกชาปลายมือ ปลายเท้า ไม่รู้สึกปวดแสบปวดร้อนเมื่อมีแผล รวมถึงมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะตกค้าง รวมไปถึงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  • แผลเรื้อรังที่เท้าที่อาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดเท้า

           ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักเกิดบาดแผลที่อาจติดเชื้อลุกลามได้ง่ายและหายยากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีเส้นเลือดตีบ และความเสื่อมของระบบประสาทที่รับความรู้สึก จึงทำให้เวลาเป็นแผล มักจะไม่รู้ตัว จะมารู้ก็ต่อเมื่อแผลนั้นรุนแรง รักษาได้ยากแล้ว ซึ่งในบางรายอาจร้ายแรงจนถึงขั้นต้องตัดเท้าเลยทีเดียว

โรคเบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์-สุวรรณภูมิ

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม