Header

อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน”

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน” | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เรื่องของอาการผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าภายนอก ดังนั้นในหลายๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้ายอันตราย ก็อาจจะมีอยู่ในขั้นรุนแรงจนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากได้ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงกับการ “ตรวจภายใน” ที่หลายคนไม่กล้าเข้ารับการตรวจเพราะเขินอาย แต่จริงๆ แล้วการตรวจภายในมีประโยชน์มาก เพราะสามารถตรวจพบความผิดปกติในการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้

 

ทำไมต้องตรวจภายใน?

อวัยวะภายในของผู้หญิงมีความซับซ้อนและเป็นระบบปิด ซึ่งอาจถูกรบกวนจากปัจจัยภายนอก และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์และการคลอด และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความผิดปกติต่างๆ ภายในอวัยวะสืบพันธุ์ได้อีกด้วย

 

อาการแบบไหนที่ควรตรวจภายใน

  1. มีประจำเดือนมามากหรือน้อยผิดปกติ รอบเดือนนานกว่า 35 วันหรือสั้นกว่า 21 วัน ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย มีลิ่มเลือดปน มีกลิ่นเหม็น
  2. ตกขาวผิดปกติ มีปริมาณมาก มีสี กลิ่นที่ผิดปกติ มีตกขาวเป็นมูกข้นคล้ายแป้ง มีสีเขียวหรือเหลือง และเริ่มส่งกลิ่นแรงขึ้น มีเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน
  3. ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ทั้งในช่วงที่มีประจำเดือนและไม่มีประจำเดือน
  4. รู้สึกแสบขัดในช่องคลอด
  5. สงสัยว่ามีก้อนหรือคลำพบก้อนที่ท้องน้อย 

 

นอกจากนี้ หากไม่มีอาการผิดปกติ บุคคลเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจภายในเช่นกัน ได้แก่

  1. ผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเอามดลูกออก
  3. ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกHPV  ยังคงต้องเข้ารับการตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ  หรือตามแพทย์นัด 
  4. ผู้ที่ตรวจพบโรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือความผิดปกติอื่นๆ
  5. ผู้หญิงที่มีบุตรยาก และผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่จะเริ่มคุมกำเนิด
     

 

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนตรวจภายใน

  1. งดมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการใช้ยาเหน็บในช่องคลอด หรือสวนล้างช่องคลอด ก่อนเข้ารับการตรวจประมาณ 24-48 ชั่วโมง
  2. หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน และควรรอให้ประจำเดือนหมดสนิท 2-3 วัน หรือก่อนที่จะมีประจำเดือนในรอบถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะมาตรวจ เพราะการตรวจในช่วงที่มีประจำเดือนจะทำได้ยาก และอาจทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้ แต่หากมีเลือดออกทางช่องคลอดทุกวัน สามารถพบแพทย์เพื่อตรวจภายได้เลย ไม่ต้องรอเลือดหยุด
  3. ควรปัสสาวะออกให้หมด แพทย์จะได้คลำขนาดมดลูกและปีกมดลูกได้
  4. ไม่ปิดปังข้อมูลกับแพทย์ เช่น เป็นโสดแต่อาจมีเพศสัมพันธ์ วิธีการที่ใช้ในการคุมกำเนิด การทำแท้ง หรืออาการผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ รวมถึงประวัติการแพ้ยา

 

ประโยชน์ของการตรวจภายใน หากเข้ารับการตรวจภายใน จะสามารถพบความเสี่ยงของการเป็นโรคเหล่านี้ได้

  1. มะเร็งปากมดลูก
  2. มะเร็งรังไข่
  3. ช็อกโกแลตซีสต์
  4. เนื้องอกในมดลูก
  5. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้มีปัญหามดลูกโต เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือบางคนก็ประจำเดือนมามากจนซีด ส่งผลให้ปวดท้องประจำเดือน รวมถึงปวดท้องน้อยเรื้อรัง
     

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.เนรัญชนา สุ่มศรีสุวรรณ

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ธันย์ชนก สมปรารถนา

มะเร็งวิทยานรีเวช

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม