Header

ลูกน้อยมีอาการไข้สูง ไอมีเสมหะ ระวังโรคระบาด RSV

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

โรคระบาด RSV โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เชื้อไวรัส RSV คืออะไร

ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ มักพบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แต่สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โรคที่เกิดจากไวรัส RSV เป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ในกลุ่มเด็กอายุน้อย ๆ ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดไวรัส RSV

การติดเชื้อไวรัส RSV มักเกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากคนที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะเมื่อเด็กสัมผัสกับละอองที่เกิดจากการไอหรือจามของคนที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ การสัมผัสกับวัตถุที่มีเชื้ออยู่ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ 

 

อาการเริ่มแรกของไวรัส RSV

อาการเริ่มแรกของการติดเชื้อ RSV อาจไม่ได้รุนแรงมาก แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเจ็บป่วยได้ 2-3 วัน ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • อาการน้ำมูกไหล
  • กินหรือดื่มน้อยลง
  • อาการไอ ซึ่งอาจลุกลามจนหายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก
  • เด็กที่อาการรุนแรงจะมีหลอดลมตีบ เสมหะมาก ทำให้มีภาวะหายใจล้มเหลวได้

 

เด็กที่มีความเสี่ยงสูง

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • เด็กทารกอายุไม่เกิน 12 เดือน โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือนหรือน้อยกว่า
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีที่มีโรคปอดเรื้อรังหรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ปัจจุบันตั้งแต่แรกเกิด)
  • เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • เด็กที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาในการกลืนหรือล้างสารคัดหลั่ง

 

การรักษาเด็กที่ติดเชื้อ RSV

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV ทำได้แค่รักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ เด็กบางรายอาจมีเสมหะปริมาณมาก แพทย์จะรักษาด้วยการพ่นยาขยายหลอดลมหรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอยและดูดเสมหะออก ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการน้อย สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ แต่หากมีไข้สูง ไอมาก มีเสมหะ หอบเหนื่อย ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
 

วิธีป้องกันการติดเชื้อ RSV

  1. ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หากไม่มีสบู่ ให้ใช้เจลทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปากด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนป่วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การจูบ การใช้ถ้วยหรือภาชนะร่วมกับผู้ที่มีอาการคล้ายหวัด
  4. ปิดปากขณะไอและจาม 
  5. ทำความสะอาดพื้นที่ที่สัมผัสบ่อย เช่น ของเล่น ลูกบิดประตู มือถือ เป็นต้น

 

คำถามที่พบบ่อย

Q : อยากให้อาจารย์ช่วยพูดเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยอย่างเช่น โรคระบาด RSV ในช่วงนี้หน่อยค่ะ

A : โรค RSV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีการทำให้เกิดการติดเชื้อทางทางเดินหายใจ คราวนี้เนี้ยโรค RSV มักเกิดในช่วงไหน ก็คือระบาดบ่อยในช่วงฤดูฝน ช่วงอาการเย็นนะคะ โรคระบาด RSV ต่างจากโรควัดอื่นๆไหม ถ้าเป็นโรคเจ็บคอ เช่น จากเชื้อแบคทีเรียทั่วๆไปก็อาจจะมีไข้ กินยาฆ่าเชื้อ ก็จะดีขึ้น แต่สำหรับโรค RSV เชื้อไวรัสตัวนี้จะชอบไปติดเชื้อที่หลอดลมฝอย หลอดลมฝอยคือหลอดลมขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้เด็กที่ติดเชื้อ RSV อาจจะมีภาวะที่หลอดลมตีบ มีภาวะหายใจลำบาก ตัวเชื้อ RSV เองมีการสร้างเสมหะมาก ซึ่งสำหรับในเด็กเล็ก อาจจะไอออกมาไม่เป็น ทำให้เกิดภาวะเสมหะอุดตันในหลอดลมทำให้มีปัญหาเรื่องการหายใจได้นะคะ

 

Q : อยากให้อาจารย์แนะนำวิธีการดูแลลูกน้อยเมื่อมีอาการป่วยหน่อยค่ะ

A : โรค RSV มักจะมาด้วยไข้สูง ไอมีเสมหะ มีภาวะหอบเหนื่อย ถ้าลูกมาด้วยภาวะมีอาการไข้สูง ไอมีเสมหะ หรือมีประวัติว่าเพื่อนมีการติดเชื้อ RSV ก็จะแนะนำให้มาตรวจที่โรงพยาบาล การดูแลรักษาโรค RSV ความรุนแรงจะไม่เท่ากัน ในบางรายถ้าอาการไม่มากอาจจะดูแลที่บ้านได้นะคะ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส ไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาคือ การให้รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ พ่นยาขยายหลอดลม ดูดเสมหะ ในกรณีที่จำเป็น สำหรับในเด็กที่มีอาการมาก จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากอาจจะมีภาวะหายใจล้มเหลวจากการที่มีเสมหะมากและหลอดลมตีบได้

 

Q : ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคระบาด RSV เข้ามาหรือยังคะ ?

A : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค RSV เพราะฉะนั้นการป้องกันก็คือ เราต้องป้องกันด้วยตัวเราเอง ใส่แมส ล้างมือบ่อยๆ ในเด็กเล็กที่ต้องไปเลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนก็ต้องหมั่นทำความสะอาดนะคะ เพราะว่าโรคพวกนี้จะติดต่อผ่านการไอ จาม นะคะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.พริม สุธรรมรติ

กุมารแพทย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.สุชาดา ดาวสุริยการ

กุมารเวชศาสตร์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กติดเกม

เด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมหรือเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เด็กมักจะเล่นเกมเป็นเวลานานและมีโอกาสติดเกมสูงขึ้น เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมนอน ไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือครอบครัว

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เด็กติดเกม

เด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมหรือเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เด็กมักจะเล่นเกมเป็นเวลานานและมีโอกาสติดเกมสูงขึ้น เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมนอน ไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือครอบครัว

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย

คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย การดูแลลูกเมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย

คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย การดูแลลูกเมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเด็กที่พบบ่อยในฤดูฝน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ในฤดูฝนแต่ละปี จะสังเกตได้ว่าเด็ก ๆ จะไม่สบายได้ง่าย เพราะอากาศจะเริ่มเย็นลงและชื้นมากขึ้น แถมยังมีเชื้อไวรัสอีกมากมายที่สามารถทำให้เด็ก ๆ ไม่สบายได้

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเด็กที่พบบ่อยในฤดูฝน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ในฤดูฝนแต่ละปี จะสังเกตได้ว่าเด็ก ๆ จะไม่สบายได้ง่าย เพราะอากาศจะเริ่มเย็นลงและชื้นมากขึ้น แถมยังมีเชื้อไวรัสอีกมากมายที่สามารถทำให้เด็ก ๆ ไม่สบายได้

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม