Header

ภูมิแพ้รักษาช้า เสี่ยงติดเชื้อทางเดินหายใจ

พญ.วิรัลพัชร ศาสตร์ยังกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.วิรัลพัชร ศาสตร์ยังกุล

โรคภูมิแพ้ - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคภูมิแพ้คืออะไร?

          โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองต่าง ๆ และเกิดการตอบสนองที่ไวผิดปกติ เกิดกระบวนการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ผิวหนัง ปอด เป็นต้น

 

อาการของโรคภูมิแพ้

  • น้ำมูกไหล
  • จาม
  • คัดจมูก
  • คันตา/คันจมูก

 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้

  • พันธุกรรม โรคภูมิแพ้ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพบว่า ถ้าทั้งพ่อ และแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ถึง 50 - 70% ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้จะลดลงเป็น 25 - 40%
  • การสัมผัสควันบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน เช่น สัมผัสแป้งเบเกอรี่ กาวลาเท็กซ์ ฝุ่นไม้ ยา สารทำความสะอาด สเปรย์ฉีดผม เป็นต้น

 

โรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกับโรคภูมิแพ้

  • โรคผนังกั้นจมูกคด
  • โรคผนังข้างจมูกบวม
  • โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีริดสีดวงจมูก และไม่มีริดสีดวงจมูก
  • โรคต่อมอะดินอยด์โตในเด็ก
  • สิ่งแปลกปลอมในจมูก
  • ก้อนเนื้อในจมูก

 

ถ้าไม่รักษาโรคภูมิแพ้จะเกิดอะไรตามมา

  • ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่าย
  • อาการต่าง ๆ รบกวนชีวิตประจำวัน อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • สัมพันธ์กับโรคหอบหืด
  • เป็นปัจจัยส่งเสริมโรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง

 

การวินิจฉัย

  • ต้องทราบถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้แพ้ หรือเกิดอาการ โดยดูจากประวัติ ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin prick test) หรือจากเลือด (serum specific IgE)
  • ตรวจร่างกายโดยส่องกล้องจมูกเพื่อแยกโรคที่มีอาการคล้ายภูมิแพ้

 

การรักษาโรคภูมิแพ้

  1. หลีกเลี่ยง และกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ละอองเกสรพืช ไรฝุ่น แมลงสาบ ขน และรังแคสัตว์เลี้ยง

  2. ยาแก้แพ้ ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก

  3. การผ่าตัดเพื่อลดอาการคัดจมูก

    1. การผ่าตัดลดขนาดของเทอร์บิเนต

      • การลดขนาดเยื่อบุจมูกด้วยเทคนิคการเลาะใต้เยื่อผิว (submucosal resection of inferior turbinate)
         

         

        วิธีนี้คือการส่องกล้องจมูก และใช้อุปกรณ์จี้ ปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ หรือคลื่นไฟฟ้า เพื่อให้ผนังจมูกเกิดการหดตัว สามารถทำได้โดยไม่ต้องดมยาสลบ ไม่มีแผลภายนอก ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล  ข้อเสียคือ ผลลัพธ์จะอยู่ชั่วคราวประมาณ 1 ปี (ตัวเลขยังไม่เป็นที่ยืนยันชัดเจน)

      • การลดขนาดเยื่อบุจมูกด้วยเทคนิคการเลาะใต้เยื่อผิว (submucosal resection of inferior turbinate)
         


         

        วิธีนี้ผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องจมูก และดมยาสลบ พักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน ไม่มีแผลภายนอก ข้อดีคือสามารถผ่าตัดออกได้ทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก ผลลัพธ์อยู่ถาวรไม่ต้องผ่าตัดซ้ำ

    2. การผ่าตัดผนังกั้นช่องจมูกคดโดยการส่องกล้อง (Endoscopic septoplasty) ในกรณีมีผนังจมูกคดร่วมด้วย
       


       

      วิธีนี้ คือการผ่าตัดโดยส่องกล้องจมูก เพื่อนำกระดูกที่คดของผนังกั้นจมูกออก หรือจัดแต่งในส่วนที่คดให้ตรง และเย็บปิด โดยต้องดมยาสลบ พักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน และไม่มีแผลภายนอก
       

  4.  การผ่าตัดเพื่อลดน้ำมูกเรื้อรัง Endoscopic posterior nasal neurectomy
     

    วิธีนี้ คือการผ่าตัดโดยส่องกล้องจมูก ดมยาสลบ และจี้ตัดบริเวณเส้นประสาทที่สร้างน้ำมูก โดยพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน และไม่มีแผลภายนอก

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกตา หู คอ จมูก

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกตา หู คอ จมูก

นพ.ชรินชาติ เทียมฉัตร์

โสต ศอ นาสิกวิทยา

แผนกตา หู คอ จมูก

นพ.ธนพล ลิรัฐพงศ์

จักษุวิทยากระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ

แผนกตา หู คอ จมูก

นพ.กฤษณะ พงศกรกุล

จอตาและวุ้นตา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์