Header

โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “แพ้ฝุ่น” หรือ “แพ้อากาศ” และหลายคนคิดว่าตัวเองเป็นโรค “ภูมิแพ้” แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของโรคนี้ และตระหนักถึงความสำคัญของการหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง 

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ และอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยวิถีชีวิตแบบคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การเผชิญกับมลพิษทั้งในและนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นควันบุหรี่ ควันธูป ควันจากท่อไอเสียรถยนต์หรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ PM 2.5 ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมและกระตุ้นการเกิดโรคภูมิแพ้ อีกทั้งยังส่งผลให้อาการของโรคภูมิแพ้ที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ไม่มากก็น้อย

 

โรคภูมิแพ้คืออะไร

โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยได้แก่สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ โดยปฏิกิริยาดังกล่าวไม่ได้เกิดในทุกคน แต่มีปัจจัยเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยพบว่า

  • ถ้าไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 12
  • บิดาหรือมารดา เป็นโรคภูมิแพ้ จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 – 50
  • บิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ จะทำให้โอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 60 – 80

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสรหญ้า เช่น หญ้าแพรก หญ้าพง ผักโขม ขนสุนัขหรือขนแมว เชื้อรา และแมลงสาบ เป็นต้น

 

ประเภท และอาการของโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้สามารถจำแนกตามระบบเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนบน หรือโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ (Allergic rhinitis) โดยอาการที่พบได้แก่ น้ำมูกใส คัดจมูก คันจมูก และจามต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง
  2. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือโรคหืด (Asthma) อาการที่พบได้แก่ ไอ หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการมากในตอนเช้ามืดหรือก่อนนอน หรือช่วงที่อากาศเย็นหรือชื้น
  3. โรคภูมิแพ้ตาอักเสบ (Allergic conjunctivitis) อาการที่พบได้แก่ ตาแดง เคืองหรือคันตา น้ำตาไหล
  4. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) จะมีภาวะผิวแห้งคัน ผื่นผิวหนังอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ

ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงที่แตกต่างกัน โดยบางรายอาจมีอาการแสดงน้อยมากจนคุ้นชินและไม่ได้คิดว่าตนจะเป็นโรคภูมิแพ้ หรือในบางรายมีอาการแสดงแค่ครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญ และไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม จนนำไปสู่อาการที่รุนแรงตามมา ซึ่งอาจส่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาวได้

 

การตรวจวินิจฉัย และหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

เมื่อผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีแนวทางการตรวจยืนยันการวินิจฉัยด้วย 2 วิธีหลัก ได้แก่

  1. การทดสอบทางผิวหนัง (Skin test) การทดสอบภูมิแพ้ด้วยวิธีสะกิดบริเวณผิวหนังที่แขน (Skin prick test) โดยการใช้น้ำยาที่สกัดจากสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ
  2. การเจาะเลือด (Blood test) การเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัย (Specific IgE)
     
การรักษาโรคภูมิแพ้

เมื่อทราบสาเหตุของการเป็นโรคภูมิแพ้แล้ว ผู้ป่วยควรรับการรักษาและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

  1. การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ (allergen avoidance) เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ตรงจุด และสามารถป้องกันการกำเริบของโรคได้
  2. การรักษาด้วยยา (medications) ยาที่ใช้ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคภูมิแพ้
    • โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ (Allergic rhinitis) : ยาพ่นจมูก ยาแก้แพ้ และการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
    • โรคหืด (Asthma) : ยาพ่นกลุ่มสเตียรอยด์ร่วมกับยาพ่นขยายหลอดลม
    • โรคภูมิแพ้ตาอักเสบ (Allergic conjunctivitis) : ยาหยอดตา และยาแก้แพ้
    • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) : การดูแลผิวหนังอย่างถูกวิธี เช่นการทาครีมชุ่มชื้นที่มีโอกาสเกิดการแพ้น้อย (hypoallergenic) อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการใช้ยาทาลดการอักเสบที่เหมาะสม
  3. การรักษาภาวะแทรกซ้อน (complications) เช่น โรคไซนัสอักเสบ ภาวะหลอดลมตีบถาวร ภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนทางผิวหนัง เป็นต้น
  4. การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen Immunotherapy) โดยข้อบ่งชี้คือผู้ป่วยมีภาวะภูมิแพ้รุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน ซึ่งมี 2 วิธีหลัก ได้แก่
    • การฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneous immunotherapy)
    • การอมยาใต้ลิ้น (Sublingual immunotherapy)

นอกจากนี้การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคภูมิแพ้ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน

….จะเห็นได้ว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ตรงจุด และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

“ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญของโลก

“ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญของโลก