Header

อาการท้องผูก

หากรู้สึกว่าการอึเป็นเรื่องยาก นั่งเป็นครึ่งค่อนชั่วโมง แล้วยังอึไม่ออก อึไม่สุด อึแข็ง อึดอัด แน่นท้องอาการเหล่านี้เรียกว่า “ท้องผูก” หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย เช่น การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความทุกข์ทรมานในชีวิตได้ ดังนั้นการเอาใจใส่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและรู้เท่าทันอาการท้องผูกย่อมช่วยให้เรารับมือได้อย่างถูกวิธี

รู้จักกับท้องผูก อาการที่เป็นสัญญาณแจ้งเตือน

โดยส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าท้องผูก (Constipation) คือ การที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ การมีอุจจาระที่แข็งและยากต่อการขับถ่าย ซึ่งจริง ๆ แล้วถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ภาวะท้องผูกในทางการแพทย์ยังรวมไปถึงการมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังนี้

  1. การถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
  2. อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายได้ไม่สุด
  3. ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก
  4. มีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ
  5. อาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้องร่วมด้วย

ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน อาการท้องผูกธรรมดาอาจพัฒนากลายเป็นท้องผูกเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ ได้แก่ โรคริดสีดวงทวาร การเกิดแผลแตกรอบ ๆ ทวารหนัก และอาจก่อให้เกิดอาการลำไส้อุดตันได้ ดังนั้น หากพบความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยหาสาเหตุไม่ได้ อีกทั้งมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แม้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่อาจซ่อนความผิดปกติไว้


สาเหตุของอาการท้องผูก
  • การอั้นอุจจาระ
  • การรับประทานอาหารที่มีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ
  • ขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ)
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด ยาลดกรด ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำน้อย
  • มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป
  • ปัญหาความเครียด
  • ปัญหาทางด้านจิตใจ

วิธีรักษาอาการท้องผูก
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะผัก ผลไม้และธัญพืช
  • ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8–10 แก้วต่อวัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน
  • ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเป็นเวลานาน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยการใช้ยา

ยาที่ช่วยรักษาอาการท้องผูกสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น เส้นใยหรือไฟเบอร์ มีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ช่วยออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ เป็นต้น ทั้งนี้ควรดูแลรักษาสุขภาพและรับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ


ที่มา : กรมการแพทย์

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Navigation)

เนื่องจากไม่มีข้อเข่าของใครที่เหมือนกันเลย การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติให้ได้ภาพข้อเข่าที่มีรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละราย

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Navigation)

เนื่องจากไม่มีข้อเข่าของใครที่เหมือนกันเลย การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติให้ได้ภาพข้อเข่าที่มีรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละราย

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ

ความยาว ความสูง น้ำหนัก และเส้นรอบศรีษะของเด็กในช่วงวัยต่างๆ

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ

ความยาว ความสูง น้ำหนัก และเส้นรอบศรีษะของเด็กในช่วงวัยต่างๆ

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม