Header

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน

นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

หลาย ๆ คน ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดเป็นประจำ ปวดท้องเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย อย่านิ่งนอนใจ หรือปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ เพราะหากปล่อยอาการแบบนี้ไว้ “คุณ” อาจจะเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เป็นอันดับ 3 ในประชากรชาวไทย โดยจะพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

 

อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีทั้งที่ไม่แสดงอาการ หรืออาจมีอาการให้เราสังเกตได้ดัง เช่น
 

  • มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายบ่อย ถ่ายลำบาก ท้องเสียสลับท้องผูก
  • ถ่ายเป็นเลือด เป็นมูก หรือมีมูกปนเลือด
  • อาการปวดท้องเรื้อรัง (ไม่ทราบสาเหตุ)
  • น้ำหนักลด (โดยไม่มีสาเหตุอื่นอธิบาย)
  • ภาวะซีด จากกการขาดธาตุเหล็ก
  • คลำพบก้อน ในช่องท้อง

 

ความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีสาเหตุหลักๆ มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเราเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน 

  • ผู้มีประวัติพบติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ (อาจมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่)
  • ผู้ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
  • ผู้ที่มีประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นโรคเบาหวาน (มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย)
  • ผู้ที่รับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูงเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย 
  • ผู้ที่รับประทานอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ มากเกินไป
  • ผู้ที่รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และมีการตกค้างที่ลำไส้ ในอาหารประเภท  ปิ้ง ย่าง หมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ล้างไม่สะอาด
  • ผู้ที่มีประวัติ ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกิน 

การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ
  • รับ ประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัว

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ 

  • การตรวจโดยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า “โคโลโนสโคป (Colonoscope)” เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ แผล
  • หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ บริเวณลำไส้ สามารถตัดชิ้นเนื้อ ตรวจหาสาเหตุของโรค เพิ่มเติม โดยเฉพาะโรคมะเร็ง 
  • ช่วยห้ามเลือดที่บริเวณลำไส้ หรือ ชี้บอกตำแหน่งให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้ อย่างแม่นยำ


การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) การส่องกล้องเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้สอดกล้องผ่านเข้าปากทวารหนัก เพื่อทำการตรวจลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อประเมินว่ามีรอยโรค เป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วยหรือไม่ ประโยชน์ที่สามารถได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และหากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ ซึ่งมีความเสี่ยงในการกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ก็จะสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 

 

การค้นหาและตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่า จะมีรอยโรคอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง แพทย์จะช่วยวินิจฉัย และให้คำแนะนำกับผู้ป่วย เพื่อคลายความกังวลใจก่อนการส่องกล้อง เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำผู้ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 50-75 ปี เป็นต้นไป หรือมีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กโดยไม่พบสาเหตุ น้ำหนักลดเยอะ ร่วมกับมีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นต้น

 

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ระยะที่ 1 มีก้อนมะเร็งที่เติบโตอยู่ภายในของผนังลำไส้ใหญ่ โดยยังไม่ลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างเคียง
  2. ระยะที่ 2 การลุกลามออกนอกผนังลำไส้ใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง แต่ยังไม่กระจายถึงต่อมน้ำเหลือง จะรักษาด้วยวิธีการเดียวกับระยะที่ 1 คือการผ่าตัด
  3. ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามออกไปที่ต่อมน้ำเหลือง รวมถึงบริเวณใกล้เคียง แต่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต้องรักษาโดยการผ่าตัด และให้เคมีบำบัดหลังผ่าตัด
  4. ระยะที่ 4 มีการลาม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงของร่างกาย เช่น ปอด ตับ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนักออก และให้ยาเคมีบำบัดต่อไป
     

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

  • เริ่มต้นจากการตรวจ และประเมินโดยแพทย์ ว่ามีข้อบ่งชี้และสภาวะของผู้ป่วย มีความเหมาะสม ในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย
  • การส่องกล้องไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างกระบวนการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันความไม่สุขสบาย และทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด 
  • โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถเข้ารับการตรวจและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัวในรพ. แต่ผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย (เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ)
  • ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในรพ. (โดยพิจารณาเป็นกรณีไป) 
  • สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าผู้ป่วยมีการตรวจคัดกรองที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น หรือรีบมาตรวจคัดกรอง จะช่วยให้ตรวจพบโรคตั้งแต่ก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะแรก 
  • ดังนั้นเมื่ออยู่ในการรักษาของแพทย์ แพทย์ก็จะช่วยตรวจประเมินและวินิจฉัย เพื่อวางแผนในการรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที และตรวจนัดหมายติดตามเป็นระยะ คืนคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยกลับมา 

 

 

บทความโดย :  นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ


 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพเพศชาย

นพ.ไกรพิชญ์ อุดมสมบัติมีชัย

ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นพ.สุรเชษฐ์ รุจิรัสสวรวงศ์

อายุรแพทย์ระบบประสาท

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน”

เรื่องของอาการผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าภายนอก ดังนั้นในหลายๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้ายอันตราย ก็อาจจะมีอยู่ในขั้นรุนแรงจนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากได้

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน”

เรื่องของอาการผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าภายนอก ดังนั้นในหลายๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้ายอันตราย ก็อาจจะมีอยู่ในขั้นรุนแรงจนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากได้

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สูบบุหรี่…สารพัดโรคร้ายทำลายปอด

การสูบบุหรี่ สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สูบบุหรี่…สารพัดโรคร้ายทำลายปอด

การสูบบุหรี่ สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม