Header

สูบบุหรี่…สารพัดโรคร้ายทำลายปอด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สูบบุหรี่ สารพัดโรคร้ายทำลายปอด | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การสูบบุหรี่ สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด” เมื่อสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนต้นทั้งหมด ตั้งแต่ จมูก คอหอย หลอดลม คอ ไปจนถึงระบบการหายใจในทรวงอก ทางเดินหายใจส่วนปลาย และลงลึกไปที่ปอด เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารพิษและมีสารก่อมะเร็ง สารพิษที่สำคัญได้แก่ นิโคติน อันตรายทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไปทำให้เสี่ยงเป็นหลายโรคร้ายที่ทำลายปอด

นิโคติน ทำให้หลอดเลือดตีบตัน เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและกระตุ้นระบบประสาท คาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้หัวใจและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย ส่งผลให้เหนื่อยง่าย และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ

ทาร์ เป็นสารก่อมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้ถุงลมโป่งพอง

ไฮโดรเจนไซยาไนต์ ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะและหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง โดยสารพิษเหล่านี้จะส่งผลทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ อาทิเช่น หลอดเลือดในสมองตีบ โรคมะเร็งต่าง ๆ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก


โรคร้ายทำลายปอดที่พบบ่อย

มะเร็งปอด

เกิดจากการที่ปอดได้รับสารเคมีที่เป็นพิษหรือเป็นสารก่อมะเร็งจากการหายใจ โดยร้อยละ 85-90 ของมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่

อาการของมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือด เหนื่อยหอบ
  • อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ หากมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะที่อื่น
  • กลุ่มเสี่ยง หากไอต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ

 

ถุงลมโป่งพอง

ปอดของคนประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนนับล้าน ถุงลมมีขนาดเล็กมากกว่าปลายเข็ม ผนังถุงลมจะบางมากและมีเส้นเลือดฝอยอยู่ตามผนังถุงลมเวลาหายใจ อากาศที่มีออกซิเจนจะเข้าถึงถุงลมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่ที่ออกซิเจนซึมผ่านผนังถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อไปเลี้ยงร่างกายคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกขับออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม และถูกขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก

ในการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะถูกดูดเข้าสู่ทางเดินหายใจไปจนถึงถุงลมปอด ซึ่งนิโคตินและสารเคมีอื่น ๆ ในควันบุหรี่จะถูกดูดซึมสู่เส้นเลือดฝอยที่บุตามถุงลม จากนั้นนิโคตินจะถูกพาไปตามกระแสเลือด  ไปสู่สมอง ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ทำให้ผู้สูบติดบุหรี่

อาการของถุงลมโป่งพอง

  • แน่นหน้าอก
  • เหนื่อย หอบ เพราะมีการเสื่อมลงของปอดอย่างรวดเร็ว

 

วัณโรค

เนื้อปอดที่ถูกทำลายจากสารพิษในควันบุหรี่ทำให้การขจัดเชื้อวัณโรคที่หายใจเข้าสู่ปอดมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่ติดเชื้อวัณโรคง่ายขึ้น ผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับเชื้อวัณโรคร่างกายจะควบคุมเชื้อไม่อยู่ ทำให้เกิดเป็นวัณโรคปอด

ในผู้ที่สูบบุหรี่และเป็นวัณโรค โรคจะรุนแรงลุกลามเร็วและรักษายากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่แล้วเป็นวัณโรคมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า

อาการของโรควัณโรค

  • ไอเกิน 2 สัปดาห์
  • ไอเสมหะมีเลือด
  • น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ ๆ เหงื่อออกกลางคืน

 

โรคภูมิแพ้

ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหลอดลม เกิดการหลั่งสารน้ำเหลืองออกมาในจำนวนที่มากกว่าปกติ ควันบุหรี่ทำให้ขนเล็ก ๆ ที่ผิวหลอดลมไม่ทำงาน โดยปกติขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่โบกพัดฝุ่นและเสมหะออกจากหลอดลม เมื่อควันบุหรี่ทำให้ขนเล็ก ๆ ไม่ทำงาน ฝุ่นและเสมหะจะตกค้างในหลอดลม ส่วนคนที่เป็นหืด หากสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ อาหารจะรุนแรงและควบคุมยากขึ้น ปอดจะเสื่อมเร็วขึ้น ร่างกายตอบสนองต่อการรักษาน้อย และต้องใช้ยามากขึ้น

อาการหืดจับเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในคนที่เป็นหืด เมื่อลมหายใจมีสิ่งที่แพ้หรือระคายเคืองต่อหลอดลม ผิวหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ กล้ามเนื้อรอบหลอดลมหดตัวทำให้รูหลอดลมเล็กลง ส่งผลให้ลมหายใจเข้าออกลำบากเกิดเป็นอาการหืดจับขึ้น

บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น  ดังนั้นวิธีแก้รักษาปอดที่ดีที่สุดคือ เลิกสูบบุหรี่และพยายามหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองและสาม ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ เพียง “เลิกสูบบุหรี่”

 

ที่มา : มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สสส. และ จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายอันดับหนึ่งของผู้หญิง

มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งของหญิงไทย มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายอันดับหนึ่งของผู้หญิง

มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งของหญิงไทย มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โรคมะเร็งเต้านม อาการที่ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นได้ รู้จักและป้องกันตัวเองจากมะเร็ง

มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 1 แต่แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็งเต้านม อาการที่ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นได้ รู้จักและป้องกันตัวเองจากมะเร็ง

มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 1 แต่แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม