Header

ไอเรื้อรัง ระวังปอดพังไม่รู้ตัว

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ไอเรื้อรัง ระวังปอดพังไม่รู้ตัว โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เคยเป็นไหม ? ไอบ่อย ๆ จนน่ารำคาญ กินยาแล้วก็ยังไม่หาย บางครั้งไอนานหลายสัปดาห์ หลายคนมีอาการแบบนี้ก็คิดว่าแค่เป็นการไอปกติทั่วไป แต่จริง ๆ แล้ว อาการไอที่เป็นอยู่นาน ๆ อาจเป็นอาการของการ “ไอเรื้อรัง” ซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดโรคมากมาย ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

ภาวะ “ไอเรื้อรัง” คืออะไร ?

ไอเรื้อรัง คือ การไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ภาวะไอเรื้อรังมีสาเหตุหลากหลาย อาจเกิดจากภาวะติดเชื้อ หรือภาวะที่ไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ หอบหืด บางกรณีภาวะไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่น กรดไหลย้อน ภาวะหัวใจวาย ดังนั้นการหาสาเหตุของไอเรื้อรังอาจไม่ได้คำตอบในการพบแพทย์ครั้งแรก การวางแผนการวินิจฉัย และติดตามการรักษาจึงต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างมาก


 

สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการไอเรื้อรังในประเทศไทย

  1. ภาวะน้ำมูกไหลลงลำคอ (Post nasal drip syndrome/Upper airway cough syndrome)
    ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักมีอาการไอเรื้อรัง ร่วมกับอาการทางจมูก เช่น น้ำมูก หรือ คัดจมูกเป็น ๆ หาย ๆ ระคายคอ ผู้ป่วยบางรายอาจะมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรังชนิดมีเสมหะ สาเหตุเกิดได้จาก
    • อาการไอที่เกิดภายหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Post-infectious cough)
    • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)
    • กลุ่มอาการโพรงไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
  2. กลุ่มอาการไอที่มีความเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ (Chronic Bronchitis/Chronic Obstructive Pulmonary disease) ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่พบว่าส่วนใหญ่ จะมีอาการไอเรื้อรังมีเสมหะเป็นระยะเวลานานหลายปี จากกลุ่มอาการหลอดลมลมอักเสบเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ หรือโรคถุงลมโป่งพอง
  3. โรคหอบหืด (Asthma)  มักมีประวัติโรคภูมิแพ้เดิมอยู่ มีประวัติไอ ร่วมกับมีอาการหายใจติดขัด หรือมีเสียงวี๊ด ๆ
  4. วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการไอเรื้อรัง ร่วมกับมีอาการไอมีเสมหะปนเลือด มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหารและน้ำหนักตัวลดลง มีประวัติสัมผัสบุคคลใกล้ชิดที่ป่วยเป็นวัณโรค
  5. โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรัง ร่วมกับมีอาการ เจ็บคอเรื้อรัง มีอาการแน่นแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก เร้อเปรี้ยวบ่อย ๆ
  6. กลุ่มอาการไอจากยาบางชนิด ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง การรับประทานยา ความดันในกลุ่มยา ACEI  อาจมีอาการไอแห้งๆได้และส่วนใหญ่เกิดภายหลังเริ่มรับประทานยาในช่วง 1-2 เดือน

ไอแบบไหนควรพบแพทย์ ?

  • ไอติดต่อกันมากกว่า 8 สัปดาห์
  • อาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • อาการไอที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก
  • ไอมีเลือดปนเสมหะ
  • ไอจากการที่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ เมื่อมีอาการไอควรรีบมาพบแพทย์

 

ไอเรื้อรังอย่าปล่อยไว้!! เพราะอาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคเหล่านี้

  • วัณโรคปอด แม้ในระยะแรกจะไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจะมีอาการไอเรื้อรัง มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายอาจไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย
  • มะเร็งปอด เมื่อโรคเป็นมากขึ้น มีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย
  • ถุงลมโป่งพอง มักพบในคนที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย มีหายใจเสียงดัง
  • โรคหืด มักมีอาการไอ โดยเฉพาะเวลากลางคืน อากาศเย็น ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับขนาดหลอดลมฝอยว่าตีบมากหรือน้อย อาการมีได้ตั้งแต่หายใจไม่สะดวก ไอมาก หายใจดัง หอบเหนื่อย อาการมักจะกำเริบเมื่อติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วย
  • โรคภูมิแพ้อากาศ มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใสๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น
  • กรดไหลย้อน มีอาการไอแห้งๆ โดยเฉพาะหลังอาหาร หรือเวลาล้มตัวลงนอน อาจจะมีอาการแสบร้อนในอกหรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  • ไซนัสอักเสบ มักจะมีอาการเป็นหวัดหรือโรคภูมิแพ้อากาศนำมาก่อน บางรายอาการหวัดอาจดีขึ้นในช่วงแรก แล้วแย่ลงภายหลัง มักไอเวลากลางคืนเพราะน้ำมูกไหลลงคอ
  • ภาวะทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น พบตามหลังโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ คือเมื่ออาการหวัดหายแล้ว แต่ยังมีอาการไออยู่ โดยไอมากกลางคืนหรือเวลาอากาศเย็นๆ ถูกลม เป็นต้น
     

การตรวจวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง

ในการตรวจวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ระหว่างแพทย์เฉพาะทาง สาขาโรคหู คอ จมูก (ENT) อายุรแพทย์โรคทางเดินหายใจ (chest med)  และสาขาโรคภูมิแพ้(allergy)

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอเรื้อรังได้เบื้องต้น  แพทย์สาขาโรคหู คอ จมูก มีเครื่องในการส่องดูโพรงจมูก และผนังลำคอเพื่อช่วยในการวินิจโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ  กลุ่มอาการโพรงไซนัสอักเสบ
  • การส่งตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด (Chest X-ray)  เพื่อดูความผิดปกติภายในปอดเบื้องต้น  หรือ การส่งตรวจเอ็กซ์เรย์โพรงไซนัส (Sinus X-ray) ในกรณีที่สงสัยภาวะโพรงไซนัสอักเสบ
  • การตรวจสมรรถปอด หรือการตรวจการกระตุ้นความไวของหลอดลม (Pulmonary function test, Bronchoprovocation test)  เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคหอบหืด  โรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่
  • การตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT-scan Chest)
  • การส่งตรวจเสมหะ (Sputum examination)  การส่งตรวจเสมหะเพื่อย้อมเชื้อและเพาะเชื้อวัณโรค(Acid fast stain, Culture for Tuberculosis)

 

ไอเรื้อรัง รักษาอย่างไร ?

การรักษาอาการไอเรื้อรังที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอ และรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวในขณะที่มีอาการไออย่างถูกต้อง ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น หรือไม่แย่ลง โดยสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติในขณะที่มีอาการไอ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น สารก่ออาการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
  • ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนห่มผ้า
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
  • ถ้าหากอาการไอมีไม่มาก อาจให้การรักษาเบื้องต้นโดยการรับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการไอ กรณีที่มีเสมหะร่วมด้วย ควรได้รับยาละลายเสมหะ เพื่อให้เสมหะที่เหนียวข้นมากขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุ

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากโรคที่ไม่ร้ายแรง เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ได้แก่ โรคหวัด หลอดลมอักเสบ หรืออาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม ได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไอยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอ และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปนะคะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.ธัญชนก ชูธรรมสถิตย์

เวชปฏิบัติทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

แผนกอายุรกรรม

พญ.กชณัช ฤทธิ์เรืองเดช

อายุรศาสตร์โรคเลือด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวัง “5 โรคร้าย” ที่มากับสงกรานต์

น้ำที่ไม่สะอาดอาจมีเชื้อโรคและแบคทีเรีย นอกจากนี้ แสงแดดและอากาศร้อนในประเทศไทยยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคได้อีกด้วย อย่าเพลิดเพลินไปกับความสนุกจนลืมดูแลสุขภาพกันนะคะ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ระวัง “5 โรคร้าย” ที่มากับสงกรานต์

น้ำที่ไม่สะอาดอาจมีเชื้อโรคและแบคทีเรีย นอกจากนี้ แสงแดดและอากาศร้อนในประเทศไทยยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคได้อีกด้วย อย่าเพลิดเพลินไปกับความสนุกจนลืมดูแลสุขภาพกันนะคะ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม