Header

โรคไตวายเรื้อรัง อันตรายอย่างไร ?

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคไตวาย - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Failure : CRF)

คือ ภาวะที่การทำงานของไตค่อย ๆ เสื่อมลงต่อเนื่อง เป็นเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งส่วนใหญ่ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดจากการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ขาดการรักษาอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคไตวายเรื้อรัง ได้แก่ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง  นิ่วในไต โรคถุงน้ำดีในไตชนิดหลายถุง หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวด เป็นต้น

 

อาการของโรคไต

  • 1.บวม
  • 2.ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชา แสบขัด เป็นต้น
  • 3.ความดันโลหิตสูง
  • 4.ซีด อ่อนเพลีย
  • 5.อาการของเสียค้างในร่างกาย  เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว ซึม สับสน เป็นต้น

การตรวจโดยทั่วไปมักจะใช้ค่าการตรวจของสาร Creatinin ในเลือด เพื่อดูระดับการทำงานของไต ถ้ามีค่าสูงจะแสดงถึง การทำงานของไตลดลง มีของเสียคั่งในร่างกาย

 

การรักษาโรคไต

ผู้ป่วยที่มีอาการสูญเสียภาวะการทำงานของไต จนเกิดอาการของเสียคั่งในร่างกาย ซึ่งตัวไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานผิดปกติหรือเสียชีวิตได้

แบ่งออกได้ 3 ชนิด

1.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

เป็นกระบวนการนำเลือดของ ผู้ป่วยออกจากร่างกายมาทำให้สะอาดขึ้น โดยการใช้เครื่องไตเทียมเป็นการกำจัดของเสีย ปรับระดับเกลือแร่ในเลือด และปรับสมดุลของน้ำในร่างกายของผู้ป่วยไตวายให้เป็นปกติ ซึ่งต้องทำในโรงพยาบาลหรือคลีนิคฟอกไต

โดยแพทย์ต้องผ่าตัดทำเส้นเลือด สำหรับนำเลือดออกจากร่างกายและต้องทำการฟอก โดยขณะทำต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญฟอกไต

2.การล้างไตทางช่องท้อง (Chonic Ambolatory Peritoneal Dialysis : CAPD)

เป็นวิธีที่ผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านหรือที่ทำงานได้ทุกวัน โดยการใช้น้ำยาเฉพาะเพื่อกรองของเสียและสารพิษเข้าไปร่างกาย ผ่านทางช่องท้องผู้ป่วย เป็นการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยการใช้เยื่อบุผนังช่องท้องของร่างกายตามธรรมชาติเป็นตัวกรอง โดยใช้น้ำยาสำหรับล้างทางช่องท้องประมาณ 2 ลิตร ใส่ผ่านสายทางหน้าท้องที่หมอวางไว้ก่อน ค้างน้ำยาไว้ในช่องท้อง 4-6 ชั่วโมง แล้วปล่อยน้ำยาที่ดูดซึมของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาทางช่องท้อง ทำเช่นนี้ วันละ 4 รอบ ซึ่งรอบการเปลี่ยนน้ำยาอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ สำหรับวิธีนี้ผู้ป่วยทำเองได้ แต่ต้องรักษาความสะอาดมาก เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในร่างกาย

3.การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) หรือการเปลี่ยนไต

เป็นการผ่าตัดเพื่อนำไตจากผู้บริจาคที่เป็นญาติหรือผู้เสียชีวิตมาใส่ให้ใหม่ ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย    วิธีการผ่าจะใช้ไตเพียงข้างเดียว ใส่เข้าไปในช่องท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง และต่อท่อไตเข้ากับระบบทางเดินปัสสาวะเดิมของผู้ป่วย ให้ทำงานได้เหมือนภาวะปกติ หลังจากปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิกินยาตลอดชีวิต การรักษาวีธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทีทำให้คุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด

 

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

ในปัจจุบันเป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมี 2 แบบ)

1.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบมาตรฐานทั่วไป  ใช้หลักการแลกเปลี่ยนสารผ่านตัวกรองด้วยวิธีการแพร่ ( Diffusion ) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียโมเลกุลขนาดเล็กได้ดี แต่กำจัดของเสียโมเลกุลขนาดกลางได้ไม่มาก

2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเรียกว่า “การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมชนิดออนไลน์” เป็นการผสมผสานวิธีการกำจัดของเสียจากเลือดทั้งชนิดการแพร่ ( Diffusion ) กับการพา ( Convection ) เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดกลางและใหญ่ได้ดีกว่าการฟอกเลือดแบบทั่วไป ซึ่งการฟอกเลือดโดยเครื่องไตเทียมแบบออนไลน์ ( OL-HDF ) มีประโยชน์กับผู้ป่วยมาก  คือ

  • สามารถขจัดฟอสเฟตได้มากกว่า สุขภาพกระดูกดีขึ้น
  • ลดการอักเสบของร่างกายและลดอาการคันที่ผิวหนัง  ผิวขาวขึ้นไม่ดำคล้ำ
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้คงที่ ลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะโลหิตจางลดลง ไม่อ่อนเพลีย นอนหลับได้ดี ลดยาฉีดกระตุ้น สร้างเม็ดเลือดเองได้
  • ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย เมื่อเทียบกับการฟอกเลือดแบบธรรมดาทั่วไป

 

การป้องกันโรคไต

  • การรับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง รวมถึงการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็ม อาหารทอด อาหารมัน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารพิษต่างๆติดต่อกันเป็นเวลานาน  เช่น ยาลดอาการปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้ปวดข้อปวดกระดูก ยาชุด ยาหม้อ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือการสวนปัสสาวะ เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและเกิดการอักเสบได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

 

ปฏิบัติตัวอย่างไร…เมื่อรู้ว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง เกิดจากหลายสาเหตุและสามารถป้องกันได้ ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ เช่น การควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ดี แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษา จนทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วและทำให้เสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยที่รู้ว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง จากสาเหตุใด ๆ ก็ตามควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • พบแพทย์สม่ำเสมอ
  • ควบคุมความดัน น้อยกว่า 130/80 และระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า 7 %
  • ควบคุมอาหารรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยาหม้อ และยาชุดโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

บทความโดย :  แผนกไตเทียม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม