Header

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็ก ๆ ส่วนที่เป็นตัวกรองของเสียในไต และเมื่อเป็นมากก็จะเกิดโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด โดยเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

 

การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อจากเบาหวาน

โรคไตจากเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น  5 ระยะ ดังนี้

  1. เป็นระยะที่ดูเหมือนไตทำงานได้ดีขึ้น เพราะมีอัตราการกรองของเสียได้ดีขึ้น
  2. เป็นระยะที่ตรวจพบโปรตีนปริมาณน้อยๆ รั่วมาในปัสสาวะเป็นครั้งคราว
  3. เป็นระยะที่ตรวจพบโปรตีนปริมาณน้อยๆ รั้วในปัสสาวะตลอดเวลา
  4. เป็นระยะที่ตรวจพบมีโปรตีนปริมาณมากรั่วในปัสสาวะตลอดเวลา และไตทำงานลดลง
  5. เป็นระยะที่ไตทำงานลดลงมาก จนเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

 

การเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

เกิดจากการปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงโดยไม่ควบคุม ทำให้เลือดในไตเสื่อม เมื่อเป็นนานเข้าจะทำให้ไตผิดปกติ ดังนั้น การป้องกันโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานคือต้องควมคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี
 

ตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีการเสื่อมของไต

วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่ามีการเสื่อมของไตหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อประเมินการทำงานของไต ทั้งนี้เพราะกว่าโรคจะแสดงอาการ ไตของผู้ป่วยก็มักจะเสียไปมากแล้วซึ่งเมื่อถึงระยะนั้นผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร หรือ อาเจียน และอาจมีอาการบวมตามร่างกาย

อนึ่ง ความผิดปกติที่ตรวจพบในระยะแรก คือ  การตรวจพบโปรตีนจำนวนน้อย (microalbuminuria)โดยจะต้องตรวจพบ 2 ใน 3 ครั้งใน 6 เดือนจึงจะถือว่าผิดปกติ และ เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นก็จะตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วยวิธีการตรวจปกติตลอดเวลาร่วมกับการตรวจพบของเสียในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

 

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ       

 

การป้องกันโรคไตจากเบาหวานทำได้อย่างไร

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดโดยดูได้จาก
  • ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารให้อยู่ในช่วง 90-130 มก.%
  • ระดับน้ำตาลเฉลี่ยซึ่งเรียกว่า “เอวันซี” ไม่ควรเกินกว่า 7%
  1. ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้เกินกว่า 130/80 มม.ปรอท
  2. การใช้ยาลดความดันโลหิตบางชนิดที่สามารถชะลอไตเสื่อมได้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนได้รับยา
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนากร เพื่อช่วยควบคุมเบาหวานและความดันโลหิต ยังช่วยชะลอการเสื่อมของไตในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต เช่น การจำกัดอาหารโปรตีน
  4. ตรวจการทำงานของไต โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. เมื่อมีอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อย แสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือดควรรีบปรึกษาแพทย์
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีผลเสียต่อไต ดังนั้นการใช้ยาต่าง ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์

โดยสรุป วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน คือ ดูแลตนเองตามวิธีที่แพทย์พยาบาลแนะนำ รับประทานยาหรือฉีดยาตามที่ได้รับ และมารับการตรวจเป็นประจำตามนัด

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม