Header

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

ไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร ?

  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • ไอ
  • มีน้ำมูก,คัดจมูก

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

  1. ลดโอกาสป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้มากกว่าวัคซีนชนิดอื่น
  2. ข้อมูลจากทั่วโลกพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ถึง 4 สายพันธุ์ ดังนั้นการใช้วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันเชื้อได้มากกว่าวัคซีนชนิดเดิม
  3. ครอบคลุมเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งสายพันธุ์ B มีการระบาดมากถึง 13 – 55 % (ข้อมูลในประเทศไทย 10 ปีที่ผ่านมา)
  4. มีความปลอดภัยสูงสามารถใช้ในเด็กเล็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ

เหตุใดต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ?

  • กระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ ให้สูงพอในการป้องกัน
  • เชื้อไวรัสที่ระบาดในแต่ละปี เป็นเชื้อที่ต่างชนิดกัน ดังนั้น จึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันสายพันธ์ที่จะระบาดในปีนั้น ๆ

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้หญิงที่อยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน หัวใจ ปอด ความผิดของตับไต

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อาจมีไข้ ปวดเมื่อนตามตัวได้หลังฉีด อาการดังกล่าวหายได้เองภายใน 1-2 วัน

การดูแลอาการข้างเคียง

  • ประคบบริเวณที่ปวดหรือบวมด้วยผ้าเย็น
  • รับประทานยาลดไข้ หากมีไข้

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ทำให้...

  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคหลอดลม และปอดอักเสบ
  • อาจทำให้คนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานโรคปอด โรคไต โรคตับ และโรคเรื้อรัง อาการต่าง ๆ ของโรคประจำตัวเหล่านี้อาจกำเริบได้

ไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้อย่างไร

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • สร้างสุขอนามัย
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ คืออะไร

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว โดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่อาการจะน้อยลงโดยภูมิคุ้มกันจะสร้างขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ต่างจากชนิด 3 สายพันธุ์อย่างไร

วัคซีนชนิดเดิมมีเพียง 3 สายพันธุ์คือ A 2 สายพันธุ์ และ B 1 สายพันธุ์ แต่จากข้อมูลการระบาดจากทั่วโลกพบว่า

  • เชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ B มีการระบาดร่วมกันทุกปีทั้ง 2 สายพันธุ์ คือสายพันธ์ุ Victoria และ Yamagata
  • สัดส่วนการระบาดของทั้ง 2 สายพันธุ์ไม่แน่นอน จึงเป็นการยากที่องค์การอนามัยโลกจะเลือกสายพันธุ์ B ตระกูลใดมาบรรจุในวัคซีนได้อย่างแม่นยำ

***องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้บรรจุสายพันธุ์ B ทั้ง 2 สายพันธุ์ในวัคซีนเป็น “วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์” เริ่มตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา

 

ที่มา : องค์การอนามัยโลก



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม