Header

โรคอัลไซเมอร์

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญให้ระวังการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีข้อสังเกตที่ต้องใช้ความใส่ใจ และวิเคราะห์อย่างใกล้ชิด และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น จนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แล้วโรคอัลไซเมอร์เกิดจากอะไรได้บ้าง เรามาทำความเข้าใจไปกับบทความนี้กันได้เลยค่ะ

อัลไซเมอร์ คืออะไร ?

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงาน หรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อย ๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่น ๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม

 

ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์ ?

หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้

หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษะการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไป และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน


 

สาเหตุอาการอัลไซเมอร์ คืออะไร ?

อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่

ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้

ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม

ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มีอะไรบ้าง ?

  • อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน
  • พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน , มียีนบางอย่างเช่น ApoE4 เป็นต้น
  • โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
  • การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม
  • พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ด้วย ดังนี้
    • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
    • การขาดการออกกำลังกาย            
    • การสูบบุหรี่
    • ความดันโลหิตสูง                  
    • ไขมันในเลือดสูง                          
    • โรคเบาหวาน

การรักษาอัลไซเมอร์ มีกี่วิธี ?

คุณหมอจะรักษาอาการอัลไซเมอร์โดยการช่วยยืดอายุการดำเนินโรค เน้นประคองให้อาการไม่แย่ลง และวิธีการรักษาหลัก ๆ ก็คือ

การใช้ยา เพื่อเป็นการควบคุมอาการเสื่อมของสมอง แต่ทั้งนี้ก็จะไม่ช่วยให้ความจำดีขึ้นมากนัก โดยยาที่ใช้จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ที่คอยทำลายสารสื่อประสาท แต่หากผู้ป่วยมีอาการทางจิตเวช ก็อาจจะต้องให้ยารักษาโรคจิตเวชร่วมกับยารักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วย

การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นวิธีรักษาโดยไม่ใช้ยา ซึ่งคุณหมอมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ดูแลสุขภาพตนเองอย่างง่าย ๆ แต่ก็เป็นวิธีช่วยประคองการเสื่อมของสมองได้ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนให้เพียงพอ การร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะน้ำคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เลือดไม่ข้นเกินไป จนเป็นเหตุให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ด้วย

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงอายุที่บ้านมีสัญญาณอาการดังกล่าว หรือข้อใดข้อหนึ่ง ควรเริ่มตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ เพราะโรคนี้หากรู้เร็ว รักษาทัน ป้องกันภาวะอัลไซเมอร์ด้วยการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง มีการรักษาแบบการใช้ยา และการรักษาโดยไม่ใช้ยา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนให้เพียงพอ การร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข เป็นวิธีช่วยประคองการเสื่อมของสมองได้ค่ะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

อาการปวดต้นคอ

ปวดต้นคอเป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตปกติสุขทำให้ขีดความสามารถในการทำงานลดลงขัดขวางการนอน ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย สมาธิลดลง สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการปวดต้นคอ

ปวดต้นคอเป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตปกติสุขทำให้ขีดความสามารถในการทำงานลดลงขัดขวางการนอน ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย สมาธิลดลง สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ