Header

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR) โดยการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ทั้ง 2 วิธีจะใช้การเก็บสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก หรือลำคอด้วยการ Swab แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกัน ซึ่งการตรวจโควิด-19 ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการแพทย์ จึงทำให้หลายคนยังสงสัยกันอยู่ว่ามีวิธีตรวจกี่แบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ควรตรวจแบบไหนดีเรามาทำความเข้าใจกันที่บทความนี้กันเลยค่ะ

Real-Time PCR กับ Antigen Test Kit (ATK) ต่างกันอย่างไร ?

การตรวจหาเชื้อ Covid-19 ทั้ง 2 วิธี ใช้สิ่งส่งตรวจจากสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก หรือลำคอ ด้วยการ Swab เหมือนกัน แต่มีรายละเอียดต่างกันดังนี้

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR หรือ  Real Time PCR

วิธีการตรวจ

  • เป็นการ Swab เก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้มและลำคอ
  • ต้องตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น
  • เป็นการเก็บสารคัดหลั่ง และนำสารคัดหลั่งเข้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการ (Lab)

สิ่งที่ตรวจหา      

  • ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19

ระยะเวลาในการรอผล 

  • ประมาณ 24-72 ชั่วโมง โดยทางโรงพยาบาลที่ทำการตรวจจะแจ้งผลผ่านทาง SMS ,อีเมล์ หรือทางโทรศัพท์

ความแม่นยำในการตรวจ การยืนยันผล

  • มีความแม่นยำสูง สามารถยืนยันผลได้ทันที
  • ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ
  • เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR

  • ตรวจพบเชื้อได้แม้ติดเชื้อมาเพียง 3 วัน
  • สามารถหาเชื้อจากตัวอย่างที่ปริมาณน้อยได้

การตรวจแบบ RT-PCR เหมาะกับใคร

  • การตรวจแบบ RT-PCR เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยง มีอาการ หรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
  • ผู้ที่ต้องการยืนยันผล หลังจากตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) แล้วได้ผลบวก
  • ผู้ที่ต้องการใบรับรองแพทย์ หรือเดินทางไปต่างประเทศ

 

 

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit
วิธีการตรวจ

  • เป็นการ Swab เก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้ม ลำคอ และน้ำลาย
  • ใช้วิธีการอ่านสีบน Strip Test
  • สามารถซื้อชุดตรวจมาตรวจได้เองที่บ้าน

สิ่งที่ตรวจหา      

  • ตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือองค์ประกอบของไวรัส

ระยะเวลาในการรอผล 

  • 15-30 นาที ผู้ตรวจสามารถอ่านผลได้เอง

ความแม่นยำในการตรวจ การยืนยันผล

  • อาจมีความคลาดเคลื่อนจากวิธีการตรวจ หรือชุดตรวจที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือชำรุด หากไม่มั่นใจสามารถตรวจซ้ำได้ทันที หรือเว้นระยะ 1-3 วัน

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit

  • สะดวก รวดเร็ว
  • หาซื้อง่าย
  • สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง

ข้อจำกัดของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit

  • อาจไม่พบเชื้อหากมีเชื้อน้อย
  • ต้องรอ 3-5 วันเพื่อให้มีเชื้อมากขึ้นจึงตรวจพบ
  • ต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วันผลถึงจะมีความแม่นยำ
  • เมื่อตรวจพบผลเป็นบวก (+) ต้องทำการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR

การตรวจแบบ ATK หรือ Antigen Test Kit เหมาะกับใคร

  • ผู้มีความสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด และต้องการตรวจหาเชื้อในเบื้องต้น
  • ผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ


สรุปได้ว่า สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการตรวจแบบ ATK กับ RT-PCR ก็คือ วิธีการตรวจเชื้อ สิ่งที่ตรวจ ระยะเวลารอผล ความแม่นยำของผลตรวจ และโอกาสการพบเชื้อนั่นเอง ซึ่งหากตรวจแบบ ATK แล้วผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) จะต้องทำการตรวจแบบ RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้งนะคะ

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า

เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อกระดูกพรุนหรือหลังลื่นล้ม

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มข้อ อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพก เช่น การลื่นล้ม อุบัติเหตุจราจร และการตกจากที่สูง

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อกระดูกพรุนหรือหลังลื่นล้ม

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มข้อ อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพก เช่น การลื่นล้ม อุบัติเหตุจราจร และการตกจากที่สูง