Header

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม

อั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จนปัสสาวะได้น้อย มีอาการปวด ปัสสาวะขุ่น อาการเหล่านี้อาจกำลังบอกว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หลายคนมักจะอดทนกับความทรมาน หายากินเองและมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหม! โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้ออื่น ๆ ตามมา

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือ Cytstitis เป็นหนึ่งในโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (Urinary tract infection) มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องด้วยสรีระและกายวิภาคของเพศหญิงที่ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อได้มากกว่าเพศชาย

โดยช่วงอายุที่พบมากคือ 20 ปีขึ้นไป ปัจจัยสำคัญที่พบบ่อยครั้งคือการมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะนานหรือบ่อย ๆ โดยเฉพาะวัยทำงาน ทำให้ปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคที่มีอยู่จึงเจริญเติบโตได้

อาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ปัสสาวะบ่อย กะปริดกระปรอย  ครั้งละน้อย ๆ มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุด
  • รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ร้อนขณะปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • มักไม่มีไข้ (ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีปวดเอวร่วมด้วย)
  • ในเด็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน อ่อนเพลีย
  • ในผู้สูงอายุบางคน จะไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย สับสน หรือมีไข้ได้
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไร ?

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย E. coli (Escherichia coli) ซึ่งพบได้มากถึง 75-95% และเชื้อแบคทีเรียเคล็บซิลลา ซึ่งเป็นเชื้อที่มีอยู่มากในลำไส้ และบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก เชื้อเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การรักษาสุขอนามัยของร่างกายได้ไม่ดีพอ การมีเพศสัมพันธ์ การใช้กระดาษชำระเช็ดหลังปัสสาวะผิดวิธี การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด เป็นต้น โดยในผู้ชายจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนัก

เชื้อโรคเหล่านี้จึงมักลักลอบเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะของเราโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าเราถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวดร่างกายก็จะสามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่หากกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เชื้อโรคก็จะมีการเจริญเติบโตมากขึ้น

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียสามารักษาได้โดย

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยระยะเวลาในการรับประทานยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของยาและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ตามความเหมาะสม
  • การรักษาโดยให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด, ยาคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจสั่งจ่ายครีมสำหรับใช้ทาช่องคลอด ซึ่งเป็นฮอร์โมนทดแทน  เนื่องจากในวัยหมดประจำเดือนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะของร่างกาย ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดเสียสมดุลจึงไวต่อการติดเชื้อและระคายเคืองได้ง่าย
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • หากมีการติดเชื้อซ้ำบ่อย ๆ อย่างน้อย 2 ครั้งใน 6 เดือน หรือ 3 ครั้งในหนึ่งปี ควรต้องเข้ารับการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของการเกิดการติดเชื้อ

ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย แต่ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การใช้ยา ส่วนประกอบในยาบางชนิดอาจมีผลต่อการอักเสบหรือระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะยาเคมีบำบัด เช่น cyclophosphamide
  • มีประวัติการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้เนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะบริเวณที่โดนฉายรังสีเกิดการอักเสบขึ้นได้
  • สิ่งแปลกปลอมภายนอก เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบตามมา
  • ปัญหาสุขภาพอย่างอื่น หรือโรคประจำตัว  เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ, ภาวะต่อมลูกหมากโต หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังที่ส่งผลต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากสาเหตุอื่น รักษาโดย

  • ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ไปกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
  • รักษาแบบบรรเทาและตามอาการของผู้ป่วย

หากมีอาการหรือภาวะสงสัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยตัวโรค โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจปัสสาวะตามความเหมาะสม รวมถึงอาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมเช่น เจาะเลือดดูการทำงานค่าไต เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ ตามข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อหาสาเหตุและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

หากกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เชื้ออาจแพร่กระจายไปจนถึง กรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบ และอาจจะสร้างความเสียหายกับไตอย่างถาวรได้ อาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปวดเอว ไข้สูง หนาวสั่น ยิ่งหากมีการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับผู้ชายเชื้อก็อาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ หรืออัณฑะอักเสบขึ้นได้อีกด้วย

ในปัจจุบัน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงาน ซึ่งอาจเกิดได้หลายปัจจัย เช่น รู้สึกไม่อยากเข้าห้องน้ำตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เพราะกลัวห้องน้ำไม่สะอาด กลัวเชื้อโรคจากเข้าห้องน้ำสาธารณะร่วมกับผู้อื่น การชำระล้างทำความสะอาดที่ไม่ถูกวิธี หรือการใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน รวมถึงการดื่มน้ำน้อย ดังนั้น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงเป็นโรคที่เรียกว่า โรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม ซึ่งหากเป็นซ้ำ ๆ หลายครั้ง ก็มีโอกาสพบเชื้อโรคที่ดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ  และอาจจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อทีมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ยังสามารถพัฒนากลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากมีอาการปัสสาวะบ่อย กะปริดกระปรอย  ครั้งละน้อย ๆ มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุด รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ร้อนขณะปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพเพศชาย

นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

แผนกสุขภาพเพศชาย

นพ.ชวน พฤกษวิวัฒน์

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

แผนกสุขภาพเพศชาย

นพ.ศราวุธ มิ่งอาชา

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัย ชนิด วิธีการ ผลข้างเคียง ‘วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก’

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทั้งการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ รวมถึงการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์นานนับปี ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความเครียดของเด็กเป็นอย่างมาก วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้กลับไปเรียนตามปกติอีกครั้ง

ไขข้อสงสัย ชนิด วิธีการ ผลข้างเคียง ‘วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก’

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทั้งการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ รวมถึงการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์นานนับปี ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความเครียดของเด็กเป็นอย่างมาก วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้กลับไปเรียนตามปกติอีกครั้ง

ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน