Header

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

7 วิธีง่าย ๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ โดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

     ถ้าหากถามว่าโรคอะไรน่ากลัว ? เราเชื่อว่า “โรคหัวใจ” จะต้องเป็นหนึ่งในโรคที่ติดอันดับมาด้วยอย่างแน่นอน เพราะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย

     สมัยก่อน เราอาจจะคิดว่า โรคหัวใจ เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยแล้วเท่านั้น แต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ เราพบว่าโรคหัวใจมีโอกาสเกิดได้แม้แต่กับเด็กทารกที่เพิ่งคลอดหรือคนในวัยเพียงอายุ 20 ปีเท่านั้น

 

 

    ในปัจจุบัน จากงานวิจัยต่าง ๆ ทำให้เรารู้สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมรดกทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ โรคต่าง ๆ อย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมไปถึงความเครียด ซึ่งถือเป็นปัจจัยกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิดโรคหัวใจนั่นเอง

    อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยเราได้รวบรวมวิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค ที่นอกจากจะดูแลหัวใจของคุณแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ทุกคน แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม ดังนี้

 

 

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  2. หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน และอาหารรสจัด
  3. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอกอฮอล์
  6. ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
  7. รับการตรวจสุขภาพหัวใจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    ถือเป็น 7 วิธีง่าย ๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ โดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องกินยาอยู่ตลอด และมักเกิดอาการขึ้นอย่างฉับพลัน อีกทั้งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นเราต้องใช้ชีวิตโดยคำนึงถึงสุขภาพหัวใจของตนเอง เพราะหัวใจของเรามีเพียงดวงเดียว อย่าลืมดูแลหัวใจของตนเองและคนที่คุณรักให้ดีนะคะ

 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนในการดำเนินชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนในการดำเนินชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโต

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโต

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม