Header

อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอย ส่วนมากในด้านสมาธิ ทักษะในการตัดสินใจ การวางแผน และความจำระยะสั้น โดยจะมีอาการรู้สึกสมองล้า (brain fog) รู้สึกตื้อ มึน ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง สิ่งใดได้ ส่งผล กระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน หรือการเข้าสังคม ทำให้ส่งผลเสียในระยะยาวได้

ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากผู้ป่วยมีโรคทางระบบประสาทและสมองอยู่เดิม เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลายอย่าง เมื่อติดเชื้อ COVID-19 แบบเฉียบพลันและมีอาการรุนแรง จะทำให้มีภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล มีอาการทางระบบประสาทและสมองเสื่อมถอย ซึ่งอาการสามารถดีขึ้นเองได้เมื่อเวลาผ่านไป

การดูแลตนเองอย่างดี ทั้งการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารดีและมีประโยชน์ โดยเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นสมอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ ฝึกสมาธิ หรืองานอดิเรกที่สร้างความผ่อนคลาย จะช่วยให้สมองและระบบประสาทฟื้นตัวและกลับมาเป็นปกติได้เร็วและดียิ่งขึ้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลาย ๆ อย่าง ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตัวตามมาตรการการดำรงชีวิตวิถีใหม่ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน COVID-19 เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดอาการสมองเสื่อมถอยหลังติดเชื้อได้ หากเกิดติดเชื้อและมีอาการสมองเสื่อมถอยแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้นในระยะเวลา 6 เดือน ควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอคำปรึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

ที่มา : กรมการแพทย์

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมที่ได้รับรังสีปริมาณน้อย เพื่อหาความผิดปกติของเต้านม ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ

เครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมที่ได้รับรังสีปริมาณน้อย เพื่อหาความผิดปกติของเต้านม ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ

มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุ

การฉีดวัคซีน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุ

การฉีดวัคซีน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม