Header

อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน หากเทียบให้เห็นภาพคือเกือบเท่าคนกรุงเทพฯ ทั้งจังหวัดเลยทีเดียว

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่าคนใกล้ตัวของเรา หรือแม้กระทั่งตัวเราเองนั้นก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรืออาจจะได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยเบาหวานก็ได้ ดังนั้นเราควรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งวันนี้นายแพทย์ อดิศร มนูสาร อายุรแพทย์ แผนกโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จะมาเล่าให้ฟังกันครับ

 

โรคเบาหวานคืออะไร?

            โรคเบาหวานเป็นภาวะเรื้อรังของร่างกายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนอินซูลิน ใน 2 กรณี ได้แก่

  • การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวนี้ ทำให้ความสามารถของร่างกายในการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายลดลง จนเกิดระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น เช่น ตามองไม่ชัด ไตวายเรื้อรัง เท้าเป็นแผล โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต รวมไปถึงการตัดอวัยวะ เป็นต้น

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

  • อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 หรือมีรอบเอวมากกว่ามาตรฐาน โดยผู้ชายรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซม. ผู้หญิงรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ซม.)
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่ดื่มสุรา
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

 

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยในระยะแรกมักไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้เข้ามาพบแพทย์ ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการรักษาไป ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรมารับการตรวจคัดกรอง เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุด

ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานมาได้สักระยะหนึ่งแล้วมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
  • รับประทานมากขึ้นแต่น้ำหนักลด
  • ตาพร่าลาย เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • มีแผลเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

เพราะฉะนั้นสังเกตให้ดี หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการเหล่านี้ อย่ารอช้า รีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยด่วน!

 

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน สามารถตรวจได้ 4 วิธี

  1. ในกรณีที่มีอาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด เป็นต้น สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด โดยไม่ต้องงดอาหาร ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg%
  2. ในกรณีที่มีความเสี่ยงแต่ไม่มีอาการ สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด โดยงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg% ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ดีที่สุด เพราะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ทำให้ผลการรักษามักจะดี
  3. ตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด โดยมีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)  มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%
  4. ตรวจวินิจฉัยด้วยการให้รับประทานน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม หลังรับประทานทาน 2 ชั่วโมง หากมีระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg% ถือว่าเข้าเกณฑ์

 

การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ให้มีการใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติได้ ซึ่งประกอบด้วย

  • การรักษาแบบใช้ยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ยารับประทานและยาฉีด โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยในปัจจุบันยารักษาโรคเบาหวานนั้นมีผลข้างเคียงน้อย และสะดวกในการใช้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • การรักษาแบบไม่ใช้ยา คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุมอาหาร และออกกำลังกาย เช่น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ ทำให้มีการดูดซึมน้ำตาลช้า อิ่มนาน เช่น วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ผักใบเขียว ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
  • รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

ซึ่งการรักษาที่กล่าวมานั้น  ทำให้เพียงรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด รวมถึงป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ตามกำหนดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ

 

รักษาเบาหวานแบบไหนที่เรียกว่ารักษาแล้วได้ผลดี?

การรักษาเบาหวานมีเป้าหมายหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อ ดังนี้

  1. รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คือระดับน้ำตาลหลังงดน้ำและอาหาร (Fasting Plasma Glucose) อยู่ระหว่าง 80-130 mg% และน้ำตาลสะสม (HbA1C) น้อยกว่า 6.5% โดยในผู้สูงอายุอาจปรับลดเป้าหมายลง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งข้อนี้แพทย์ที่ดูแลจะประเมินอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. การตรวจโรคร่วมอื่น ๆ  อันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

โดยที่คลินิกโรคเบาหวานเเละความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ห้บริการ วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม พร้อมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย คุณจึงสามารถไว้วางใจในมาตรฐานและความปลอดภัยในการบริการ

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv 

จากที่กล่าวมาทั้งหมด หวังว่าทุกท่านคงได้ความรู้และข้อคิดในการปฏิบัติและอยู่ร่วมกับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขนะครับ

อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

นพ.อดิศร มนูสาร

อายุรแพทย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.มุกดาภรณ์ พิชญ์พัฒนะ

อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

แผนกอายุรกรรม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวทำให้เส้นเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวทำให้เส้นเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม