Header

โรคเบาหวานขึ้นตา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคเบาหวานขึ้นตา | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยเป็นภาวะเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะ แทรกซ้อนที่ตาทำให้ตาบอดได้ ภาวะนี้เกิดจากการที่เบาหวานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้น เลือดที่จอประสาทตา หรือที่เรียกว่า  ภาวะเบาหวานขึ้นตา
 

 

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องตรวจตาเป็นประจำ

ผู้ป่วยเบาหวานโดยทั่วไป มักจะพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางไต และ ทางตา
 

 

ภาพที่มองเห็นในผู้ป่วยตาปกติ และตาที่มีเบาหวานขึ้นตา

สำหรับภาวะแทรกซ้อนทางตานั้นไม้ได้เกิดกับผู้ป่วยเบาหวานทุกราย แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเบาหวานทุกราย ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน ๆ หรือ ผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก

อย่างไรก็ดีหากมีภาวะเบาหวานขึ้นตาที่รุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าภาวะตาบอดนี้สามารถป้องกันได้ ถ้าตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก หากรอจนมีอาการตามัวแล้วจึงมาพบแพทย์อาจสายเกินไปเพราะถ้ามารักษาในระยะที่เป็นมากแล้วสายตา มักไม่กลับมาดีเหมือนเดิม
 

เบาหวานขึ้นตา-โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ
 

การตรวจตาในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเตียมตัวอย่างไรบ้าง

การตรวจตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำเป็นต้องขยายม่านตาเพื่อดูจอประสาทตาโดยละเอียด การขยายม่านตาทำได้โดยการหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที หลังจากม่านตาขยาย ผู้ป่วยอาจมีอาการตาพร่า จากฤทธิ์ของยาประมาณ 3 – 5 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องควรพาญาติมาด้วยในวันที่มาตรวจและ ไม่ควรขับรถมาเอง
 

 

ภาวะเบาหวานขึ้นตามีกี่แบบ

แบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 3 แบบคือ

  1. ภาวะเบาหวานขึ้นตาแบบเริ่มแรก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะยังไม่มีอาการตามัว ลักษณะที่ตรวจพบที่จะประสาทตา ได้แก่ จุดเลือดออกและพบมีการรั่วของสารออกจากเส้นเลือด
  2. ภาวะเบาหวานขึ้นตาแบบรุนแรง เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตามัว ลักษณะที่ตรวจพบได้แก่ กลุ่มของเส้นเลือดที่งอกขึ้นใหม่ที่จะประสาทตา ซึ่งนำไปสู่การมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา และการเกิดจอประสาทตาลอก
  3. ภาวะจุดรับภาพบวม ภาวะนี้จะทำให้ผู้ป่วยตามัวลง แต่มักจะไม่มากถึงกับมองไม่เห็น เกิดจากมีการรั่วของสารออกจากเส้นเลือดบริเวณจุดรับภาพ

 

 

การรักษาภาะเบาหวานขึ้นตา

ได้แก่ การยิงเลเซอร์ที่จอประสาทตา และการผ่าตัดโดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามระยะของโรคที่ผุ้ป่วยเป็น อาการตามัวจากเบาหวาน โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถป้องกันได้ ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ในระยะแรกดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และ อย่ารอจนกว่าจะมีอาการตามัวแล้วจึงมาพบแพทย์



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวานในเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่พ่อแม่ต้องรู้

เรียนรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคเบาหวานในเด็ก ทั้งสาเหตุ อาการที่พบบ่อย และวิธีดูแลที่เหมาะสม พร้อมคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในอนาคต

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเบาหวานในเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่พ่อแม่ต้องรู้

เรียนรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคเบาหวานในเด็ก ทั้งสาเหตุ อาการที่พบบ่อย และวิธีดูแลที่เหมาะสม พร้อมคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในอนาคต

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ กับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ กับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม