Header

ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ความดันโลหิตสูง: สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ความดันโลหิตสูงเป็นได้ทั้งสาเหตุและเป็นผลของโรคไตเรื้อรัง

 

ความดันโลหิต คืออะไร

ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของเลือดภายในเส้นเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายปกติหัวใจจะต้องบีบเลือดด้วยแรงดันที่มากพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย และเส้นเลือดต้องแข็งแรงพอที่จะทนแรงดันดังกล่าวได้

 

การตรวจวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง

การวัดความดันโลหิตวิธีมาตรฐาน ทำได้โดยหมอและพยาบาล โดยทั่วไปจะวัดที่ต้นแขน และท่านจะต้องนั่งพักก่อนการวัดนานประมาณ 5-10 นาที (การออกแรงแม้กระทั่งเดินจะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงกว่าปกติ) รวมทั้งงดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (caffeine) ก่อนการวัด เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงถ้าท่านใช้ยาใดๆ อยู่ก็ควรแจ้งให้หมอหรือพยาบาลทราบก่อนเสมอ

หมอและพยาบาลจะใช้เครื่องวัดความดันโลหิตพันรอบต้นแขน ใช้หูฟังตรวจที่ข้อพับข้างเดี่ยวกันบีบและปล่อยลมจากลูกยางช้าๆ จนได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง ในปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ (ดิจิตัล) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตนเอง แต่จะต้องได้รับการตรวจยืนยันจากหมอ และพยาบาลก่อนจะระบุว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

 

รู้ได้อย่างไรว่ามีความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตที่วัดได้นั้นมี 2 ค่า ค่าบน เรียกว่า แรงดันซิสโตลิค ( systolic blood pressure) เป็นค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว ส่วน ค่าล่าง เรียกว่า แรงดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure) เป็นค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ค่าปกติอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท) ลงไป ถ้าค่าความดันโลหิตที่วัดได้มีค่าสูงตั้งแต่ 140/90 ขึ้นไป ถือว่าผู้ป่วยมี “ความดันโลหิตสูง” ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าจะมีความดันโลหิตสูงหรือไม่ ก็ควรไปตรวจวัดความดันโลหิต สำหรับคนปกติควรจะวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตตัวบนอยู่ระหว่าง 120–139 หรือความดันโลหิตตัวล่างอยู่ระหว่าง 80–89 จัดอยู่ใน “กลุ่มเสี่ยง” ที่มีความดันโลหิตใกล้สูง ควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การกินอาหารเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะมีโรคหัวใจและเส้นเลือดแทรกซ้อนตามมา

 

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากหลายสาเหตุ

  1. ไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ตรวจไม่พบสาเหตุ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปมักจะตรวจไม่พบสาเหตุ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีประวัติคึวามดันโลหิตสูงในครอบครัว อ้วน ใขมันในเลือดสูง มีกรดยูริคในเลือดสูง อาจจะมีโรคเบาหวานหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
  2. โรคไต ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบางชนิด ไตเสื่อมหรือไตวายทั้งในระยะแรกและระยะสุดท้าย ไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายได้ น้ำและเกลือแร่สะสมมากผิดปกติทำให้ความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดต่างๆ เป็นต้น
  4. โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกตีบ ทำให้มีแรงดันเลือดที่แขนข้างหนึ่งหรือสองข้างสูงกว่าขา
  5. อื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวมากเกินไปจากการที่มีไขมันมาพอก โรคระบบประสาทบางชนิด เป็นต้น

เมื่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไปหาหมอ หมอจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยละเอียด ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญบางอย่าง เพื่อหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ถ้าหากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี และตรวจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน แพทย์ก็จะระบุว่าผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีลงไป แพทย์จะต้องพยายามหาสาเหตุมากขึ้น การรักษาโรคดังกล่าวมักจะทำให้โรคความดันโลหิตสูงหายไปด้วย อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ของผู้ป่วยก็มักจะตรวจไม่พบสาเหตุอยู่ดี

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

  1. การปรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการกินยา ซึ่งได้แก่
  • การงดกินอาหารเค็มๆ ให้พยายามกินจืดๆ หรือไม่เติมเกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ในอาหารที่ปรุงแล้ว (กินเกลือแกงไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน) คนปกติที่กินเค็มเป็นประจำจะเพิ่มโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่กินเค็มจะควบคุมความดันโลหิตได้ยาก ต้องกินยามากกว่าปกติ หรือคุมความดันโลหิตให้ปกติไม่ได้
  • การจำกัดอาหารหวาน อาหารมัน
  • การลดความอ้วน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การลดความเครียด
  1. การกินยา
  • ยาลดความดันโลหิตมีหลายชนิด หมอจะต้องเป็นผู้สั่งใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ยาทุกขนานมีผลข้างเคียงจึงต้องอยู่ในความดูแลของหมออย่างใกล้ชิดห้ามซื้อยากินเอง
  • จะต้องกินยาให้สม่ำเสมอและกินตามหมอสั่งเท่านั้น
  • จะต้องไปหาหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตว่าควบคุมได้ดีแล้วหรือยัง ตรวจหาโรคแทรกซ้อนเพื่อจะไดรักษาหรือป้องกันแต่เนิ่นๆ สอบถามผลข้างเคียงของยาและปรับยาให้เหมาะสมกับโรค

 

ความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อม

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวทำให้เส้นเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองและเส้นเลือดที่ไตเสื่อม ทำให้มีโปรตีนในเลือดรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งตรวจพบได้โดยการตรวจปัสสาวะ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของไตในระยะท้ายจะทำให้ไตเสื่อมลง ไตขับเกลือแร่และของเสียลดลง สารเกลือแร่ที่คั่งจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีกและทำลายไตมากขึ้นเป็นวัฎจักร

 

มีวิธีการป้องกันไตเสื่อมจากความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

คนที่มีโรคไตเรื้อรังควรได้รับการควบคุมความดันโบหิตให้ต่ำกว่า  130/80 มม.ปรอท สำหรับคนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อไตวายได้แก่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัมต่อวัน ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า   125/75 มม.ปรอท ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

 

มียาลดความดันโลหิตชนิดไหนที่จะชะลอการเสื่อมของไต

ยาลดความดันโลหิตที่มีผลมากในการชะลอการเสื่อมของไตได้แก่ ยากลุ่ม “เอซีอีไอ” (CE-I ย่อมาจาก angiotensin converting enzyme inhibitors) และยากลุ่ม “เออาร์บี” (ARB ย่อมาจาก angiotensin receptor blocker) ยาทั้งสองมีผลลดความดันโลหิต ลดการรั่วของโปรตีนทางปัสสาวะและชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน  และโรคไตชนิดอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนได้รับยา

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม