Header

โรคระบบทางเดินอาหาร

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งหากพูดถึงระบบทางเดินอาหารแล้ว เราจะนับไปตั้งแต่เราทานอาหารเข้าไป คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรืออวัยวะที่ช่วยผลิตน้ำย่อยอย่างเช่น ตับ ถุงน้ำดี เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นหากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเกิดความผิดปกติ ระบบทางเดินอาหารก็จะเริ่มแสดงออกถึงอาการต่าง ๆ เรามาทำความรู้จักกับโรคในระบบทางเดินอาหารให้มากขึ้นกันนะคะ

สาเหตุของ “โรคระบบทางเดินอาหาร” คืออะไร ?

โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยสุดนั้นเกิดจากการติดเชื้อ โดยอาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาจจะมาจากอาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ไสติ่งอักเสบ เป็นต้น หากมาจากไวรัสอาจจะมาจากไวรัสตับอักเสบ และสุดท้ายคือโรคจากพยาธิต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นโรคระบบทางเดินอาหารได้จากการเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น การดื่มสุรา หรือจากพันธุกรรมก็มีส่วนให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

จะรู้ยังไงว่า… เรากำลังเป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ?

การสังเกตอาการของโรคระบบทางเดินอาหารไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะอาการที่พบได้บ่อยนั้นเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้ง่าย เช่น ปวดท้อง เรอบ่อย แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระปนเลือด เหล่านี้เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าระบบทางเดินอาหารของเรากำลังมีปัญหา นอกจากนี้อาจจะมี อาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น ตัวเหลือง ซีด น้ำหนักลด เบื่ออาหารร่วมได้ เพราะฉะนั้นหากเรามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ อย่าปล่อยไว้ แม้ว่าอาการจะหายเองได้ในบางครั้ง แต่โรคระบบทางเดินอาหารสามารถเกิดเป็นอาการที่เรื้อรังได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ลดความเสี่ยง

 

ใครบ้างที่ควรตรวจเช็คระบบทางเดินอาหาร ?

  • บุคคลที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง
  • มีความรู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ถ่ายเป็นสีดำหรือมีเลือดปน
  • ถ่ายไม่สุด
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • เป็นซีด
  • มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
  • คลำพบก้อนในท้อง
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องบ่อย ๆ
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

 

วิธีการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร แนวทางรักษาเป็นอย่างไร และต้องป้องกันได้อย่างไร ?

แนวทางการรักษาโรคทางเดินอาหาร คือ การรักษาสาเหตุและการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • การรักษาตามสาเหตุ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การให้ยาฆ่าเชื้อราเมื่อโรคเกิดจากติดเชื้อรา การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดและยาปฏิชีวนะ หรือการรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด อาจร่วมกับรังสีรักษา ยาเคมีบำบัด หรือยารักษาตรงเป้า
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อกินไม่ได้หรือในภาวะขาดน้ำจากอาเจียนหรือท้องเสียมาก หรือการให้เลือดเมื่อมีอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด จนเกิดภาวะซีด
  • การตรวจคัดกรองด้วยวิธีการส่องกล้อง ปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนพัก ไม่มีแผลผ่าตัด
    • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) สามารถตรวจหาความผิดปกติของ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น งดน้ำ งดอาหาร 4 ชั่วโมง สามารถทำได้
    • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สามารถตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก   โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมทางเดินอาหารประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ต้องเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้อง สามารถมาตอนเช้า ทำตอนบ่าย

โรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยมักจะเกิดจากติดเชื้อ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันให้ดี จะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้มาก เช่น การทานอาหาร  ที่ปรุงสุก การทานอาหารที่มีกากใยสูง หรือทานผักผลไม้เป็นประจำ การทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ เป็นต้น



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กินน้ำแก้วเดียวกันอาจเสี่ยงโรค

การกินน้ำแก้วเดียวกันอาจจะนำโรคติดต่อทางน้ำลายมาให้ได้หลายโรค และบางโรคก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กินน้ำแก้วเดียวกันอาจเสี่ยงโรค

การกินน้ำแก้วเดียวกันอาจจะนำโรคติดต่อทางน้ำลายมาให้ได้หลายโรค และบางโรคก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม