Header

การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  • การตรวจสุขภาพทั่วไป หมายถึง การตรวจสุขภาพของลูกจ้าง ปกติตรวจปีละครั้ง รายการตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด น้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงการพิจารณาการตรวจตามอายุ เช่น อายุ 35 ปีขึ้นไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
  • การตรวจตามปัจจัยเสี่ยง หมายถึง การตรวจสุขภาพในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอันตราย คือ สารเคมีอันตราย เชื้อโรคต่าง ๆ กัมมันตภาพรังสี ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน แสง  เสียง และสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตราย เช่น ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นไม้ ซึ่งอาจต้องใช้การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด  สมรรถภาพการได้ยิน การตรวจสารบ่งชี้ทางชีวภาพของสารเคมีทางปัสสาวะ หรือเลือด

วัตถุประสงค์การตรวจสุขภาพ

  • เพื่อป้องกันโรคที่อาจค้นพบได้ในระยะต้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  การคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นต้น
  • เพื่อประเมินความเหมาะสมของลูกจ้างที่จะเข้ามาทำงานว่าสภาพร่างกายมีความพร้อมหรือไม่ เช่น การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานบนแท่นน้ำมัน การทำงานบนเรือ เป็นต้น
  • เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบพื้นฐาน สำหรับการเฝ้าระวังทางสุขภาพต่อไปในอนาคต
  • เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลูกจ้างที่อาจเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อเฝ้าระวังโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง การตรวจสมรรถภาพปอดให้กับพนักงานที่สัมผัสสารเคมีที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

 

การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวอนามัย

  • ตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (pre-employment examination) เป็นการตรวจสุขภาพก่อนที่หน่วยงานนั้นจะจ้างคนทำงานเข้ามาทำงาน (ผู้รับการตรวจการตรวจยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างของหน่วยงานนั้น) เพื่อหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับงาน  โดยการตรวจสุขภาพประเภทนี้ไม่ได้มีข้อบังคับตามกฏหมาย
  • ตรวจแรกรับเข้าทำงาน (pre-placement examination) เป็นการตรวจสุขภาพหลังจากตกลงรับเข้าทำงานแล้วหรือเปลี่ยนลักษณะงานที่มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม เพื่อเป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นและดูว่าสุขภาพพนักงานมีความพร้อมในการทำงานประเภทนั้นๆหรือไม่ เช่น การทำงานที่ต้องสัมผัสเสียงดัง   การทำงานที่ต้องสัมผัสสารเคมี  โดยต้องตรวจให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน
  • การตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic examination) เป็นการตรวจติดตาม หรือเฝ้าระวังสุขภาพคนทำงาน  ซึ่งอาจมีแนวโน้มแย่ลงหลังสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆในที่ทำงาน โดยจัดให้มีการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (return to work examination) หมายถึง การสุขภาพของลุกจ้างว่ามีความพร้อมกับการกลับเข้ามาทำงานหรือไม่ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหยุดงานตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไป เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ ก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ให้นายจ้างขอความเห็นจากแพทย์ผู้รักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ
  • การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน (retirement examination ) การตรวจสุขภาพเพื่อทราบสุขภาพของลูกจ้างที่กำลังจะออกจากงาน  ข้อมูลการตรวจสุขภาพที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถานประกอบกิจการ เพื่อพิจารณาต้นเหตุว่า โรคหรือภาวะที่เป็น เกิดจากการทำงานในสถานประกอบการที่เดิมหรือไม่


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม