Header

ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เคยสังเกตเล็บของเรา หรือเล็บของคนอื่นหรือไม่ ? ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าเล็บแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันที่ขนาด รูปร่าง ความสั้น ความยาว และสุขภาพของเล็บที่ขึ้นอยู่กับการดูแลเล็บของแต่ละคน แต่รู้หรือไม่ว่า “เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะบอกถึงโรคภัยไข้เจ็บ ที่กำลังป่วยอยู่ในขณะนั้น หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนั้น ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งเราสามารถสังเกตลักษณะของเล็บได้ง่าย ๆ ได้ดังนี้

เล็บที่มีสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ พื้นผิวเล็บเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงไม่ถอยร่น และเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ถ้าเล็บมีความแตกต่างไป ให้ลองสังเกตดูเพราะเล็บอาจจะบ่งบอกว่าร่างกายกำลังเป็นโรคอะไรอยู่หรือไม่

เล็บหนาบางมากผิดปกติ มีหลายโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เชื้อราที่เล็บ ซึ่งนอกจากเล็บจะหนาขึ้นแล้ว เล็บอาจเปลี่ยนสีด้วย เช่น สีเหลือง ขาว หรือสีดำ ผิวเล็บอาจมีความขรุขระร่วมด้วย นอกจากนี้โรคสะเก็ดเงินก็อาจจะมีเล็บหนาได้ จะแตกต่างกับเชื้อที่โรคสะเก็ดเงินมักจะมีอาการเล็บหนาหลาย ๆ เล็บ แต่โรคเชื้อรามักจะเป็นไม่กี่เล็บ

เล็บเว้าลงจนคล้านรูปช้อน (Spoon nails หรือ koilonychia) เล็บจะมีลักษณะขาวซีด อ่อน แบนบาง และแอ่นคล้ายช้อน พบในเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้สูงอายุอาจมีเล็บที่บางและเปราะแตกง่ายบริเวณปลายเล็บ บางทีเล็บก็จะโค้งไปตามอายุด้วย ซึ่งเป็นมาก ๆ เล็บจะจิกไปในเนื้อได้ง่ายขึ้น อาจเกิดช่องใต้เล็บขึ้นมาทำให้เชื้อโรคเข้าได้ง่าย

ปลายเล็บร่น (onycholysis) ปลายเล็บร่น ปกติแล้วผิวหนังส่วนปลายจะติดกับเล็บ แต่หากมีโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ โรคเชื้อราและโรคผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด อาจทำให้ขอบของผิวหนังที่ติดกับเล็บมีการร่นลง

เล็บเปลี่ยนสี เล็บที่มีสีขาวครึ่งเล็บพบได้ในคนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง เล็บที่มีสีขาว 2 ใน 3 ของเล็บพบได้ในคนเป็นโรคเบาหวาน โรคตับแข็งและโรคหัวใจวาย เล็บที่มีสีขาวเป็นแถบขวางอาจเป็นโรคโปรตีนในร่างกายต่ำ

ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง คนที่สัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ ผิวหนังรอบเล็บอาจมีการเปื่อยยุ่ย หรือเกิดการระคายเคืองจากสารเคมี เช่น น้ำยาล้างจานและน้ำยาทำความสะอาด บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อราเนื่องจากไม่รักษาความสะอาด ผู้ป่วยบางรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง รอบเล็บอาจบวมแดงและมีหนองร่วมด้วย

นี่เป็นเพียงการสังเกตอาการของเล็บเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าหากมีความสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคต่าง ๆ สำหรับวิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและถูกกับโรค



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ความร้อนที่สะสมภายในร่างกายอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย ไม่สบายเนื้อ-สบายตัว เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืด เจ็บในช่องปากและลำคอ พบแผลร้อนในช่องปาก เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้านไม่สดใส เกิดสิวอักเสบขึ้นตามใบหน้า หรือเกิดฝีอักเสบตามลำตัวได้

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ความร้อนที่สะสมภายในร่างกายอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย ไม่สบายเนื้อ-สบายตัว เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืด เจ็บในช่องปากและลำคอ พบแผลร้อนในช่องปาก เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้านไม่สดใส เกิดสิวอักเสบขึ้นตามใบหน้า หรือเกิดฝีอักเสบตามลำตัวได้