Header

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาการเหล่านี้ เป็น ๆ หาย ๆ ทำให้หลายคนไม่ได้สนใจ แต่รู้หรือไม่ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง แล้วถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรังอันตรายแค่ไหน เรามาทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันกับบทความนี้กันนะคะ

ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis)

ภาวะที่เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะช่วยย่อยอาหาร มีขนาดเล็กคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณท้องด้านขวาใกล้ตับ ตามปกติแล้ว น้ำดีช่วยในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกไขมัน น้ำดีจะไหลผ่านถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก หากเกิดการอุดตันของน้ำดี จะส่งผลให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ และเกิดอาการปวดได้ การอุดตันของน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากนิ่วอุดตันในท่อถุงน้ำดี รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีและเนื้องอกอื่น ๆ

ถุงน้ำดีอักเสบจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที เนื่องจากถุงน้ำดีอักเสบอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังได้หากไม่เข้ารับการรักษาหรือปรากฏอาการอักเสบซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ไม่เข้ารับการรักษาให้หาย อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีแตก ซึ่งร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

อาการถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (Chronic cholecystitis)

เป็นแบบที่พบได้น้อยกว่ามาก โดยเป็นภาวะที่ผนังของถุงน้ำดีมีการหนาตัว และแข็งจากการที่บวมอยู่เป็นเวลานาน ๆ ผู้ป่วยมักมีอาการไม่แน่นอน และไม่ชัดเจนเท่าอาการจากถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (ยกเว้นในรายที่เกิดการติดเชื้อเฉียบพลันซ้ำซ้อนที่จะทำให้มีอาการเหมือนการอักเสบแบบเฉียบพลันได้) จึงทำให้แยกจากภาวะปวดท้องจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ยาก โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงด้านขวาไม่รุนแรง แต่จะปวดแบบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ (โดยมากจะมีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ แบบเดียวกับอาการปวดของนิ่วในถุงน้ำดี) ร่วมกับมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักจะเป็นหลังจากที่รับประทานอาหารมัน ๆ หรือหลังอาหารมื้อหนัก

 

สาเหตุของถุงน้ำดีอักเสบ

สาเหตุหลักของถุงน้ำดีอักเสบคือ นิ่ว หรือตะกอนน้ำดีที่ไปปิดทางออกของถุงน้ำดี ซึ่งบางครั้งเรียกว่า นิ่วเทียม สาเหตุอื่น ๆ เช่น

  • การบาดเจ็บที่ท้องจากแผลไฟไหม้ การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือบาดแผล หรือจากการผ่าตัด
  • ภาวะช็อก
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อดอาหารเป็นระยะเวลานาน
  • การอักเสบในน้ำดี ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีได้
  • เนื้องอกที่ไปรบกวนการไหลของน้ำดี ทำให้น้ำดีค้างอยู่ในถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีอักเสบได้

 

วิธีการรักษาถุงน้ำดีอักเสบ

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการติดเชื้อ และอาการอักเสบในถุงน้ำดี โดยปกติแล้วเพื่อรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบถาวร มักอาศัยวิธีการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (gallbladder removal surgery) ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) บางชนิด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของโรครุนแรง และไม่ต้องการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องได้รับการการระบายน้ำออกจากถุงน้ำดีอย่างเร่งด่วน ผ่านการเจาะทางผิวหนังของคนไข้ ในช่วงแรกของการรักษาภายในโรงพยาบาลนั้น คนไข้อาจต้องงดอาหาร และน้ำเพื่อลดภาวะการติดเชื้อในถุงน้ำดี โดยคนไข้จะได้รับของเหลวผ่านทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ ทั้งนี้แพทย์มักสั่งยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการอักเสบ 

การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดี (Endroscopic retrograde cholangiopancreatography หรือ ERCP) เป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ โดยการส่องกล่องผ่านทางปากเพื่อนำนิ่วหรือสิ่งกีดขวางอื่นออกจากท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) และท่อถุงน้ำดี (cystic duct)

โรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรังอาการจะไม่รุนแรง แต่จะเกิดการอักเสบซ้ำ ๆ บ่อย ๆ อาการอักเสบดังกล่าวก็ไม่ชัดเจนนัก มักมีเพียงอาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ แต่หากเกิดการติดเชื้อเฉียบพลันซ้ำซ้อนขึ้นมาก็จะทำให้กลายเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบรุนแรงได้เช่นกัน เมื่อสงสัย ควรรีบไปหาหมอ อย่ารอเวลาดูอาการเอง คุณหมอจะทำการวินิจฉัย และทำการรักษานะคะ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยปกติแล้ว การแน่นหน้าอกเป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี เช่น การให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การฉีดสี เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัด และมีความแม่นยำที่แตกต่างกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยปกติแล้ว การแน่นหน้าอกเป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี เช่น การให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การฉีดสี เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัด และมีความแม่นยำที่แตกต่างกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม