Header

โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อนั้นเป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆสะสมอาการ มีการดำเนินของโรคไปอย่างช้า ๆ โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว และค่อยทวีความรุนแรง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และคนรอบข้าง แล้วโรค NCDs สามารถรักษาได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบกันที่บทความนี้ได้เลย

โรค NCDs คืออะไร ?

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคในกลุ่มนี้จะมีการดำเนินโรคอย่าง  ช้า ๆ คือค่อย ๆ สะสมอาการทีละนิดโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำก็มักจะไม่ทราบและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา จนโรคค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น และกลายเป็นอาการเรื้อรังในที่สุด เช่น เกิดภาวะติดเตียงภายหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก หรือมีอาการเจ็บหน้าอก เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวัน

โรคกลุ่ม NCDs มีอะไรบ้าง ?

  • โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดอินซูลินหรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอินซูลินนั้นเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตหรือนำอินซูลินมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดโรคเบาหวานขึ้นในที่สุด
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เกิดจากการเกาะของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้ไม่เพียงพอ
  • โรคถุงลมโป่งพอง เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของถุงลมขนาดเล็กในปอด จนทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดผิดปกติ โดยมักเกิดจากการสูบบุหรี่
  • โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้นอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ โดยมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
  • โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • โรคอ้วนลงพุง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้มีไขมันสะสมที่หน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่ เส้นรอบเอว ตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไปสำหรับผู้หญิง และ 90 ซม.ขึ้นไปสำหรับผู้ชาย ทั้งยังมีระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดสูง มักเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้มากขึ้น

พฤติกรรมเสี่ยงที่พาไปสู่โรค NCDs

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน      การทำงาน การออกกำลังกาย ความเครียด หรือแม้กระทั่งการพักผ่อน หากเราใช้ชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง ละเลยการดูแลสุขภาพ ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็มีมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่ควรระวังมีดังนี้

  • บริโภคอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีภาวะเครียด
  • การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เช่น ยาแก้ปวด ยาชุด ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน

ลดเสี่ยงโรคได้ แค่ปรับพฤติกรรม

การมีชีวิตให้ห่างจากกลุ่มโรค NCDs ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นการรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง
  • ลดการกินเค็ม ปริมาณโซเดียม < 2,500 mg/วัน (ประมาณเกลือแกง 1 ช้อนชา)
  • ลดการกินหวาน ปริมาณน้ำตาล <20 g/วัน (ประมาณน้ำตาล 4 ช้อนชา)
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง ให้ได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หรือรวม 150 นาที
  • งดดื่มเค
  • รื่องดื่มแอลกอฮอล์งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ค่าน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar), ไขมันในเลือด (Cholesterol, LDL, HDL, Triglyceride), ค่าตับ (AST, ALT), การทำงานของไต (BUN,Creatinine), ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG), เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) และอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

สรุปโรค NCDs คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำก็มักจะไม่ทราบและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา การป้องกันทำได้โดยไม่ยากเพียงแค่เราใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นด้วยการ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ชีวิตที่ดีเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมชีวิตสักนิด เพื่อสุขภาพที่ดีและชีวิตปราศจากโรคของเรา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

ตับ คืออะไร

ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม  แบ่งเป็น 2 ส่วน  เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตับ คืออะไร

ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม  แบ่งเป็น 2 ส่วน  เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม