Header

มะเร็งกระเพาะอาหาร

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ แต่เราเคยสงสัยไหมว่าอาการปวดเหล่านี้ บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง เราทุกคนต่างก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์ปวด หรือแน่นบริเวณช่องท้องกันมาแล้ว ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในรูปแบบที่แตกต่างกันไป อาจจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อยเป็นประจำ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนบริเวณหน้าอกอาการแบบนี้อาจส่งสัญญาณเตือนอาการเริ่มแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร

คือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างไม่มีการควบคุม และในที่สุดเกิดการลุกลามไปตามอวัยวะข้างเคียง กระทั่งเกิดการกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด ตับ เป็นต้น สามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งในกระเพาะอาหาร แต่ที่พบบ่อยคือส่วนปลายของกระเพาะอาหาร แต่ปัจจุบันตำแหน่งที่พบอยู่สูงขึ้นเรื่อย ๆ

 

อาการของมะเร็งในกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารแปรรูป และอาหารปิ้งย่าง รวมถึงมีปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงของการเกิดโรค ดังนี้
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • เพศชายมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารสูงกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า
  • ผู้มีประวัติบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อ Pylori แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและสร้างภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
  • การสัมผัสฝุ่น สารเคมี และสารก่อมะเร็งเป็นเวลานาน
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

 

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แบ่งตามระยะของโรค

  • ผู้ป่วยระยะแรก อาจไม่แสดงอาการ แต่มาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นท้อง ท้องอืด หรือจากการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งระยะเริ่มต้นนี้ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด โดยใช้กล้องส่องทางเดินอาหารเข้าไปตัดเฉพาะเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสหายขาดสูงมาก
  • ผู้ป่วยระยะที่มะเร็งเริ่มมีขนาดโต แต่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก โดยการเอามะเร็งและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก ทั้งนี้อาจมีการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
  • ระยะที่มะเร็งลุกลามไปติดอวัยวะข้างเคียง เช่น ในผนังช่องท้อง ซึ่งเมื่อก่อนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด แต่ปัจจุบันสามารถใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับความร้อน มาช่วยในการผ่าตัด (HIPEC) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดมากขึ้น
  • ระยะสุดท้าย หรือระยะมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ ระยะนี้ไม่สามารถผ่าตัดและไม่สามารถรักษาให้หายขาด แพทย์มักพิจารณาให้การรักษาด้วยเคมีบำบัด เพื่อควบคุมโรคและลดอาการของโรค

สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารส่วนใหญ่คือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารเค็มอาหารปิ้งย่างที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทำให้เกิดมะเร็งได้ เมื่อเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การดูแลรักษาจะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยระยะแรก อาจไม่แสดงอาการ แต่มาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นท้อง ท้องอืด ตรวจสุขภาพประจำปีจึงสำคัญมาก ๆ ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ถ้าหากพบว่าเป็นโรคร้ายจะได้รักษาได้ทันท่วงทีค่ะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวปีนี้ เน้นดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจาก 4 โรคติดต่อ และ 1 ภัยสุขภาพที่สำคัญ เพื่อป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรค และลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

blank กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวปีนี้ เน้นดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจาก 4 โรคติดต่อ และ 1 ภัยสุขภาพที่สำคัญ เพื่อป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรค และลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

blank กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตากุ้งยิง” โรคตาที่พบบ่อยที่สุดในช่วง โควิด-19

แม้ว่าตากุ้งยิงเป็นโรคไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดแต่ก็อาจรบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวรบริเวณขอบเปลือกตา ส่งผลให้ตาแห้ง ขนตาเกขูดผิวกระจกตา

“ตากุ้งยิง” โรคตาที่พบบ่อยที่สุดในช่วง โควิด-19

แม้ว่าตากุ้งยิงเป็นโรคไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดแต่ก็อาจรบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวรบริเวณขอบเปลือกตา ส่งผลให้ตาแห้ง ขนตาเกขูดผิวกระจกตา

โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนในการดำเนินชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนในการดำเนินชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม