Header

ปวดประจำเดือนรุนแรง เช็กตัวเองสักนิด อย่าคิดว่าแค่เรื่องธรรมดา

blank บทความโดย : คลินิกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปัญหากวนใจที่ผู้หญิงเกือบทุกคนต้องเจอนั่นก็คือ “ปวดท้องประจำเดือน” หรือปวดท้องเมนส์ หลายคนเข้าใจว่า การปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ บางคนปวดไม่มากมีอาการเพียงเล็กน้อยจึงมักมองข้ามปัญหานี้ไป แต่รู้ไหมว่าแม้จะปวดเพียงเล็กน้อย แต่ปวดเป็นระยะเวลานานหรือแม้กระทั่งปวดท้องแบบรุนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่จะตามมาได้

ปวดท้องประจำเดือนคืออะไร ?

ปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือน โดยปกติแล้วผู้หญิงมักจะมีอาการปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ ก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบเดือนในช่วงวันแรก ๆ จะมีอาการปวดเกร็งเล็กน้อย ปวดแบบหน่วง ๆ หรือรุนแรงไปจนถึงบริเวณท้องน้อย ในบางรายอาจมีอาการปวดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ท้องผูก ท้องอืดหรือท้องเสีย เป็นต้น

 

สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน เกิดจากอะไร ?

ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อให้ร่างกายขับเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน แต่บางครั้งอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่รุนแรงมากกว่าปกติจนอาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงจนทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็ง และในช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายจะมีการผลิตสารที่ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่เป็นสารที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากขึ้นด้วย นอกจากนี้อาการปวดประจำเดือนยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องมาก โดยจะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย
  • ถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของระดับฮอร์โมนทำให้เกิดถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ผู้ป่วยจะมีประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานกว่าปกติ เป็นต้น
  • เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยเนื้องอกที่ว่านี้จะมีขนาดเล็กมากไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่าลูกแตงโม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ หรือทำให้มีลูกยากได้ อาการที่แสดงออกมาในบางรายอาจปวดท้องเมนอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมามาก และมาเป็นเวลานานผิดปกติ
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โดยอาการหลักจะเป็นการปวดที่อุ้งเชิงกราน และยังส่งผลให้ผู้ป่วยปวดประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาวด้วย
  • ปากมดลูกตีบ ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดประจำเดือน และเกิดแรงดันภายในมดลูกมาก ก่อให้เกิดอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ

 

ปวดท้องแบบไหนต้องไปพบแพทย์ ?

หลายคนมองว่าปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ ปวดแป๊ปเดียวเดี๋ยวก็หาย แต่หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่อันตรายกว่าการปวดประจำเดือนแบบทั่วไป

  • ทานยาแล้วไม่หาย
  • ปวดบีบ และปวดนานกว่า 2-3 วัน มีอาการท้องร่วงและคลื่นไส้ร่วมด้วย
  • ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ หรือรู้สึกปวดท้องน้อยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มีเลือดไหลออกมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแทบทุกชั่วโมง
  • มีเนื้อเยื่อปนออกมากับเลือด เนื้อเยื่อมีสีเทา
  • มีอาการปวดท้องน้อยแม้ไม่มีประจำเดือน
  • ติดเชื้อ เช่น คันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ ตกขาวมีกลิ่น
  • มีบุตรยาก
  • อายุมากกว่า 25 ปี แต่มีอาการปวดประจำเดือนแบบรุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้พร้อมกับปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดแผลที่เนื้อเยื่อ ซึ่งจะไปทำลายอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ อาจมีไข้ มีอาการปวดท้องอย่างกระทันหันหรือรู้สึกปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษา

วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

  • ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่มักจะใช้ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เช่น พอนสแตน
  • ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ หากยาชนิด NSAIDs ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้นไม่สามารถทำให้หายปวดได้  ให้ปรึกษาแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่แรงขึ้นกว่าเดิมให้สำหรับคุณ
  • ยาคุมกำเนิด คือฮอร์โมนคุมกำเนิด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยไปยับยั้งการตกไข่ หากคุณไม่มีการตกไข่ อาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลง
  • การผ่าตัด  ใช้ในกรณีที่เป็นเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่มีขนาดใหญ่หรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น

อาการปวดท้องประจำเดือนในเพศหญิงโดยปกติทั่วไปมักจะมีอาการไม่รุนแรง ปวดเพียงช่วงวันแรก ๆ ของการมีประจำเดือนจึงไม่ต้องกังวลไป แต่หากมีอาการปวดรุนแรง และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีก่อนที่ปัญหาการปวดท้องประจำเดือนธรรมดา ๆ จะกลายเป็นอาการที่มีโรคร้ายแอบแฝงจนรักษาไม่ทัน



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม