Header

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งกระเพาะอาหารถือเป็นมะเร็งอันดับที่ 5 ที่มักเกิดขึ้น โรคนี้ถือเป็นอีกโรคที่น่ากลัวที่เราควรตระหนัก เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค

  • การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารแปรรูป อาหารปิ้งย่าง
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • เพศ โดยเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ภาวะอ้วน
  • อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิด
  • การติดเชื้อ Helicobacter pylori แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและสร้างภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง อาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง ในระยะแรกของโรคอาจไม่มีอาการแสดงที่เฉพาะและอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ซึ่งอาการพวกนี้ทำให้เรามักชะล่าใจที่จะตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเมื่อโรคเข้าสู่ระยะลุกลามหรือระยะท้าย ๆ แล้ว จึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากลำบากยิ่งขึ้น

 

อาการของโรค

  • ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ ปวดเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ
  • ท้องอืดเรื้อรัง
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ ถ่ายเป็นเลือด

ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

การวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การตรวจส่องกล้องไม่น่ากลัวอีกต่อไป ผู้ป่วยสามารถทำการตรวจแล้ว สามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
  3. การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
  4. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เพราะความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและลำไส้มักไม่ได้แสดงอาการเฉพาะที่ชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่ม แถมอาหารทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคธรรมดาไม่ร้ายแรง ดังนั้นการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องจึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุดที่ช่วยหยุดยั้งโรคร้ายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

เตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้องอย่างไร?

  • งดอาหารและน้ำล่วงหน้าก่อนเข้ารับการส่องกล้อง 6 – 8 ชั่วโมง
  • งดทานยาบางชนิดตามที่แพทย์แจ้งก่อนเข้ารับการตรวจ 7 – 10 วัน เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารระหว่างส่องกล้อง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรมีญาติมารับกลับบ้าน เพราะผู้ตรวจอาจได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะจุด ซึ่งอาจส่งผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมึนงงได้ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านเองหลังจากทำการส่องกล้อง

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมพร้อม Back to School new normal style วิถีชีวิตใหม่ในโรงเรียน

ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ไปเรียนในยุค New normal อย่างไรบ้าง ? มาเตรียมความพร้อมและเตรียมสิ่งของจำเป็นที่ควรพกไปโรงเรียนเพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อกัน

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมพร้อม Back to School new normal style วิถีชีวิตใหม่ในโรงเรียน

ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ไปเรียนในยุค New normal อย่างไรบ้าง ? มาเตรียมความพร้อมและเตรียมสิ่งของจำเป็นที่ควรพกไปโรงเรียนเพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อกัน

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
8 ปัจจัยเสี่ยงเข่าเสื่อม รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

หลายคนเข้าใจว่า การที่กระดูกหรืออวัยวะในร่างกายเสื่อมนั้น เกิดจากการมีอายุมากขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง การเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก หัวเข่าของเราก็เช่นกัน

8 ปัจจัยเสี่ยงเข่าเสื่อม รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

หลายคนเข้าใจว่า การที่กระดูกหรืออวัยวะในร่างกายเสื่อมนั้น เกิดจากการมีอายุมากขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง การเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก หัวเข่าของเราก็เช่นกัน

รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม