Header

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

– วันนี้เราจะมารู้จักกับนิ่วในถุงน้ำดี ถึงอาการ ปัจจัยเสี่ยงและการดูแลรักษา –

 

สาเหตุการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

   เกิดจากตะกอนที่เกิดสะสมภายในถุงน้ำดี อาจจะมาจากคอเรสเตอรอลซึ่งพบเป็นสาเหตุหลัก หรืออาจจะเกิดจากเม็ดสีบิลิรูบินก็ได้ โดยตะกอนที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดเล็กหรือจะใหญ่ก็ได้ ซึ่งตะกอนดังกล่าวจะมีเม็ดเดียว หรือหลายร้อยได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

  • ความอ้วน ถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด เพราะเป็นสาเหตุของการทำให้คอเรสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มมากขึ้น
  • การทานอาหารไขมันสูงนำไปสู่ภาวะคลอเรสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • อายุ 40 ปี ขึ้นไป ระบบเผาผลาญในร่างกายที่แย่ลง
  • ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน จะมีความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มมากขึ้น
  • พันธุกรรม หากพบว่าในครอบครัวมีคนเคยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี เราก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น

อาการ

  • มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณช่องอกคล้ายอาการกรดไหลย้อน มีลมในกระเพาะอาหาร
  • หลังรับประทานอาหารมันๆ มักมีอาการอืดแน่นท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
  • กรณีที่ถุงน้ำดีมีการอักเสบ อาจจะมีไข้ ปวดท้องกดเจ็บใต้ชายโครงด้านขวาบริเวณตำแหน่งของถุงน้ำดี และอาจมีภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง ร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดีที่ถือว่ายังมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

การรักษา

ในผู้ป่วยที่มีอาการของนิ่วในถุงน้ำดี แนะนำการผ่าตัดรักษาเพื่อนำถุงน้ำดีและนิ่วออก โดยการผ่าตัดรักษาจะสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดผ่านกล้อง

  1. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

 

  1. การผ่าตัดผ่านกล้อง

 

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวปีนี้ เน้นดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจาก 4 โรคติดต่อ และ 1 ภัยสุขภาพที่สำคัญ เพื่อป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรค และลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

blank กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวปีนี้ เน้นดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจาก 4 โรคติดต่อ และ 1 ภัยสุขภาพที่สำคัญ เพื่อป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรค และลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

blank กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม