Header

“ตากุ้งยิง” โรคตาที่พบบ่อยที่สุดในช่วง โควิด-19

อาการคัน เจ็บ มีตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายสิวในบริเวณรอบดวงตาสร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คนนั้นคือโรค “ตากุ้งยิง” ยิ่งในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ต้องใส่หน้ากากอนามัยแทบจะตลอดเวลาเมื่อต้องออกนอกบ้านทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคตากุ้งยิงมากขึ้น

โรคตากุ้งยิงคืออะไร ?

ตากุ้งยิง (Hordeolum) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตาด้านบนและเปลือกตาด้านล่าง ทำให้มีอาการเจ็บปวดตรงที่เป็นตุ่มหรือหนอง โดยแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อย คือ สแตปไฟโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ทำให้เกิดเป็นตุ่มแดงอักเสบขึ้นบริเวณเปลือกตา พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
 

ประเภทของตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงมี 2 ชนิด คือ

ตากุ้งยิงแบบไม่ติดเชื้อ (Chalazion)

ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious) แต่เกิดจากการมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในรูขุมขนบริเวณเปลือกตาหรือขนตา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและล่าง ทำให้ไขมันที่ถูกผลิตขึ้นมาจากต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland) ไม่สามารถระบายออกมาได้ บริเวณที่เกิดตากุ้งยิงชนิดไม่ติดเชื้อจะเกิดอาการบวมแดงและมักจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

ตากุ้งยิงแบบติดเชื้อ (Hordeolum)

เป็นตากุ้งยิงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus บริเวณต่อมไขมันที่อยู่ในรูขุมขนบนเปลือกตาหรือรูขนตา ทำให้เปลือกตาบวมแดงและรู้สึกเจ็บ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ตากุ้งยิงชนิดด้านนอก (External Hordeolum) จะมีตุ่มหนองบริเวณเปลือกตาหรือตรงแนวขนตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ตากุ้งยิงชนิดด้านใน (Internal Hordeolum) จะมีตุ่มหนองบริเวณด้านในที่สัมผัสกับดวงตา มองเห็นได้ยากกว่า
     
ตากุ้งยิงเกิดจากอะไร ?

ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง ได้แก่

  • สัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การใส่คอนแทคเลนส์
  • โรคเปลือกตาอักเสบ
  • ใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาดหรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
  • เคยมีประวัติเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เช่น เป็นโรคเบาหวาน
     
อาการตากุ้งยิง

อาการของผู้ที่เป็นตากุ้งยิงที่เห็นได้ชัดคือ อาการบวมแดงของเปลืองตามีลักษณะคล้ายเป็นสิว บางรายมีไข้ร่วมด้วย แต่นอกจากนี้ผู้ที่เป็นตากุ้งยิ่งยังมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • มีตุ่มนูนขึ้นที่เปลือกตา
  • เปลือกตาบวม แดง
  • มีอาการเจ็บบริเวณที่บวม
  • คันตา
  • ตาพร่ามัว
  • ตาไวต่อแสง
  • ไม่สบายตาเวลากระพริบ
  • น้ำตาไหล
     
ทำไมคนเป็นตากุ้งยิงสูงขึ้นมากในช่วงการระบาดของโควิด ?

จากรายงานพบว่าผู้ป่วยเป็นตากุ้งยิงเพิ่มขึ้นในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 สันนิษฐานเบื้องตันว่า เกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยไม่พอดี หน้ากากเลื่อนขึ้นมาสัมผัสขอบตาบ่อยครั้งจึงพาเชื้อบริเวณผิวหนังขึ้นมาติดบริเวณต่อมไขมันเปลือกตามากขึ้น

แนะนำให้ซีลขอบบนหน้ากากให้รัดกุมและใส่หน้ากากอนามัยที่สะอาดจะช่วยลดปัจจัยการเกิดตากุ้งยิงได้
 

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

ถึงแม้ตากุ้งยิงที่รู้สึกเจ็บหรือบวมจากการอักเสบจะสามารถหายไปเองได้  แต่ถ้าหากมีอาการติดเชื้อมีหนองเซาะเข้าไปในผิวหนังก็อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อรอบ ๆ บริเวณกระบอกตาได้ หรือหากมีอาการตาบวมจนส่งผลต่อชีวิตประจำวันผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

แม้ว่าตากุ้งยิงเป็นโรคไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดแต่ก็อาจรบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวรบริเวณขอบเปลือกตา ส่งผลให้ตาแห้ง ขนตาเกขูดผิวกระจกตา ผิวกระจกตาอักเสบหรือเป็นแผลที่กระจกตาและการมองเห็นแย่ลงได้ หากสงสัยว่าเป็นตากุ้งยิง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือการเจาะระบายหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออกเพื่อลดอาการอักเสบและจะทำให้หายเร็วขึ้น



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม