Header

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

blank แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อาการปวดเป็นครั้ง ๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวด ๆ หาย ๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตในประจำวัน อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่ เรามาทำความเข้าใจและหาคำตอบกันค่ะ

 

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stone)

นิ่ว คือก้อนของสาร หรือแร่ธาตุที่ตกตะกอนจากปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการที่มีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ โดยอาการจะรุนแรงแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดท้อง หรือปัสสาวะมีเลือดปน อย่างไรก็ตาม ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้เอง และไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่บางรายก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการรับประทานยา หรือผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

 

สาเหตุของการเกิดนิ่ว

  • กรรมพันธุ์  ผู้ป่วยที่มีพ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้

  • อายุและเพศ นิ่วในไต พบได้ในชายมากกว่าหญิง ถึง 2 ต่อ 1 พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราทัยรอยด์ ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calcium ออกมามากกว่าปกติ

  • มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง

  • ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ เกิดจากมีสารต่างๆ ถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือสูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อปัสสาวะเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น

  • การอักเสบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • ยา บางอย่าง ทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวกphosphate ได้ง่าย

  • อาหารที่รับประทาน เช่น ชอบทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ยอดผัก สาหร่าย จะทำให้เกิดกรดยูริคได้ และการกินอาหารจำพวกผักที่มีสารออกซาเลต สูง เช่น ผักโขม หน่อไม้ ชะพลู เป็นต้น

 

อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีอาการแสดง แพทย์มักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการเอกซเรย์ช่องท้องจากโรคอื่น ๆ เช่น ปวดท้อง หรือปวดหลัง ส่วนในรายที่แสดงอาการ จะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง

  • การปัสสาวะผิดปกติ หรือมีอาการขัดเบา (เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ) ทำให้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะลำบาก ปวดเบ่งคล้ายว่ายังถ่ายปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบปวดร้อน ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • ผู้ป่วยบางรายอาจปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่

  • หากก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด มีไข้ ปวดเนื้อตัว และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย

 

การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของนิ่ว โดยมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • การรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่จะได้ผลกับนิ่วกรดยูริก เพราะเป็นนิ่วที่มีขนาดเล็ก โดยใช้ยาเพื่อเข้าไปทำให้นิ่วละลาย

  • การสลายนิ่ว ใช้รักษานิ่วที่มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร และเป็นนิ่วในไตหรือท่อไต การรักษาจึงจะได้ผลดี ทำโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่มีความจำเพาะ ทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่ว ทำให้เกิดรอยร้าวจนแตกเป็นผงในที่สุด ผงนิ่วจะหลุดไหลออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง เข้าไปกรอนิ่ว ขบ เพื่อให้ก้อนนิ่วแตก เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในไตที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร

  • การผ่าตัดโดยการเจาะหน้าท้อง ใช้กับการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด