Header

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด แต่ยังมีอาการปวดหลังบางประเภท ที่ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ที่กล้ามเนื้อ แต่กลับมีต้นตอที่ลึกกว่า นั่นคือปัญหาการปวดหลังร้าวลงขา ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากกว่า ว่า “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” โดยวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้ในเบื้องต้น ว่าเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และจะสามารถเลี่ยงการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร

มีวิธีการแยกอาการปวดหลังที่อันตรายและไม่อันตรายหรือไม่?

แน่นอนว่า หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า อาการปวดหลังที่ตนเป็นอยู่ เป็นสัญญาณเตือนของโรคทางสุขภาพใดหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งอาการปวดหลังออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความอันตราย อันได้แก่

  1. ระดับความอันตรายสูง: อาจมีอาการปวดหลังตอนกลางคืน ร่วมกับมีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการดังกล่าว เป็นอาการปวดหลังที่อันตราย เนื่องจากอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ หรือว่าเป็นโรคมะเร็ง
  2. ระดับความอันตรายปานกลาง: ได้แก่อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งมีอาการปวดร้าวลามลงมาที่บริเวณขา ปวดเป็นแถบ หรืออาจมีอาการปวดเสียวร้าวลงมาที่เท้าด้วย
  3. ระดับความอันตรายต่ำ: ได้แก่อาการปวดหลังเนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การปวดหลังจากการยกของหนัก

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 30 – 50 ปี โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยโดยรวม ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาจเป็นผลมาจากสรีระของบุคคล หรือปัจจัยการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการยกของหนักอย่างผิดวิธี ออกกำลังกายผิดท่า เป็นต้น

 

สามารถรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร?

ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักจะเริ่มมาพบแพทย์ตอนที่มีอาการบ่งชี้ เช่น ขาเริ่มอ่อนแรง ข้อเท้านิ้วเท้ากระดกไม่ขึ้น หรือนั่งนานแล้วมีอาการปวดชา อาการในขั้นนี้สามารถรักษาได้โดยการรับยา หรือทำกายภาพ โดยการทำกายภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและมีหลายวิธี ส่วนใหญ่คือการออกกำลังกายส่วนกล้ามเนื้อกลางลำตัว หากขั้นตอนการรับยาและทำกายภาพไม่มีผล อาจจะมีการฉีดยาเพื่อลดอาการปวด แล้วจึงเริ่มการผ่าตัดเพื่อทำการรักษา

 

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในปัจจุบันเป็นอย่างไร?

หลายคนอาจจะคุ้นชินว่า การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างใหญ่ นั่นคืออาจมีแผลยาวเป็นคืบเท่าฝ่ามือ แต่ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้องที่มีขนาด 0.8 มิลลิเมตร เพื่อใช้ในการผ่าตัด ทำให้เกิดบาดแผลเล็ก ฟื้นตัวไว ผ่าตัดตอนเช้า ตอนเย็นก็สามารถเดินได้ หรือในบางกรณี คนไข้บางรายสามารถกลับไปพักฟื้นฟูร่างกายที่บ้านได้ทันที

สิ่งที่ควรทำเพื่อไม่ให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีอะไรบ้าง?

  1. การออกกำลังกาย: ออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (ท้อง และหลังส่วนล่าง) เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่นการแพลงก์ (Plank) โดยเน้นไปที่ความถี่ในการทำ ประมาณ 5 – 10 นาที ในหนึ่งวัน และทำเช่นนั้นทุกวัน ไม่ควรหักโหม
  2. นั่งทำงานอย่างเหมาะสม: ในกรณีที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) หากไม่มีเก้าอี้ออฟฟิศ หรือเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการนั่งทำงาน แนะนำให้ใช้หมอนรองหลัง เลี่ยงท่านั่งที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง และไม่ควรนั่งทำงานเกิน 30 นาที ถึง 1  ชั่วโมง โดยควรเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกยืนเป็นระยะ

ทราบกันแล้วว่าสิ่งที่พึงกระทำเพื่อเลี่ยงการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น ค่อนข้างอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราจึงควรคำนึงเสมอว่า ท่าทางที่เราทำ สิ่งที่ทำ ใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังมากมั้ย เช่นการยกของหนัก ก็ควรยกอย่างถูกวิธีและอย่าเผลอตัวนั่งทำงานหรืออ่านหนังสือนาน ๆ ควรลุกยืนยืดเส้นยืดสายบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการปวดเป็นครั้ง ๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวด ๆ หาย ๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตในประจำวัน อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่

blank แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการปวดเป็นครั้ง ๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวด ๆ หาย ๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตในประจำวัน อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่

blank แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม