Header

อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

การควบคุมอาหาร คือ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล เป็นการป้องกัน หรือ ลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่จะมาภายหลัง

จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหาร คือ
  • เพื่อลดควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติ หรือ ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด
  • เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • เพื่อให้มีโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมเบาหวาน เลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ถูกชนิดและถูกสัดส่วนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
หลักในการเลือกอาหาร
  • รับประทาน ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ได้ตามปกติ ไม่ต้องลดมากนอกจากผู้ที่อ้วนให้ลดลงครึ่งหนึ่ง
  • รับประทานผลไม้ตามจำนวนที่กำหนด วันละ 2 – 3 ครั้งแทนขนม
  • รับประทานผลไม้ให้มากขึ้นทุกมื้อ
  • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
  • รับประทานไข่สัปดาห์ละ 2 – 3 ฟอง ถ้าไขมันในเลือดสูงให้ลดไข่แดง
  • รับประทานปลา และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
  • ใช้น้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำในการทอดผัดอาหารแต่พอควร
  • เลือกน้ำนมไม่มีไขมัน  น้ำนมพร่องมันเนย แทนน้ำนมปรุงแต่รส
  • หลีกเสี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ช็อกโกแลตและขนมหวานจัดต่างๆ
  • หลีกเสี่ยงอาหารใส่กะทิ ไขมันสัตว์ อาหารทอดเป็นประจำ รวมทั้งขนมอบ เช่น เพสเตรี้
  • รับประทานผัก ผลไม้ทั้งกากแทนการคั้นดื่มแต่น้ำ
  • เลือกรับประทานอาหาร ที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัด ที่ใช้น้ำมันแทนการทอด
  • ใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มละอาหาร แทนการใช้น้ำตาลทราย
  • รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม
ประโยชน์ของการควบคุมอาหาร
  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติ
  • ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น
  • ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  • ทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน
ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานน้ำหวานหรือขนมหวานได้หรือไม่

น้ำหวาน ลูกอมชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็ว ยกเว้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ สำหรับขนมหวานจัดอื่นควรงด

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม