Header

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก “พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน” นั่นหมายความว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเพียงกลุ่มเดียวอย่างที่เข้าใจกัน แต่โรคนี้อาจจะเกิดกับคนวัยหนุ่มสาวที่กระทำพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเป็นประจำ ซ้ำ ๆ ทุกวันอย่างเป็นกิจวัตร โดยวันนี้ เราจะมาเรียนรู้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เพื่อป้องกันการมาเยือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกัน

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นอกจากความเสื่อมถอยทางร่างกายจากการมีอายุมากขึ้นที่นำไปสู่การเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้ว พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยของร่างกายก่อนวัยอันควร โดยปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

1. มีน้ำหนักร่างกายสูงเกินไป

การมีน้ำหนักร่างกายสูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของภาวะอ้วน จะมีผลให้หลังต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะหลังแอ่น กระดูกสันหลังส่วนล่างต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักตลอดเวลา ซึ่งนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม แตก หรือปลิ้นได้ง่ายกว่าคนที่มีรูปร่างสมส่วน

2. ขาดการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อเราขาดการออกกำลังเป็นเวลานาน จะมีผลให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อลง ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณหมอนรองกระดูกมากขึ้น ดังนั้น การเล่นกีฬาเบา ๆ หรือขยับร่างกายเป็นประจำ มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงและยืดหยุ่น ทำให้ชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลังได้ดี

3. สวมรองเท้าส้นสูงในชีวิตประจำวัน

การสวมรองเท้าส้นสูงในการทำงาน หรือในเวลาอื่น ๆ อาจช่วยเสริมสร้างบุคลิกและความมั่นใจให้ผู้สวมใส่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังจากความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังตามมาได้

4. ถือหรือสะพายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก

การถือหรือสะพายกระเป๋าหรือสัมภาระที่มีความหนักด้วยไหล่ข้างเดียว อาจทำให้กล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้องถูกใช้งานตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดอาการปวดไหล่เนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งอาจทีผลร้ายแรงถึงขั้นกระดูกคดงอ

5. นั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน

ในกลุ่มของพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ และไม่มีการลุกยืนเพื่อยืดกกล้ามเนื้อ หรือปรับเปลี่ยนอริยาบถการนั่งเป็นระยะ ๆ ตลอดจนผู้ที่นั่งหลังไม่พิงพนัก หลังงอ ก้มคอ อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมากกว่า คนที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว

6. นอนหลับ หรือนอนทำกิจกรรมด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม

การนอนขดตัว การนอนหดแขนขา มีผลให้กระดูกสันหลังบิดงอ ผิดรูป และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อได้ นอกเหนือจากการนอน ท่านอนทำกิจกรรมบางท่าก็มีผลต่อกระดูกสันหลังเช่นกัน อย่างเช่นการนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือ มีผลทำให้กระดูกสันหลังแอ่นผิดปกติ อาจมีผลให้เกิดการปวดหลังและคอ

7. ประสบอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุบางอย่าง อาจส่งผลต่อกระดูก อย่างเช่น การหยุดรถกระทันหัน การเล่นกีฬาหักโหมซึ่งทำให้เกิดการบิดแรงจนหมอนรองกระดูกฉีกก็อาจเป็นไปได้ ถึงมีโอกาสน้อย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการแบกของหนัก เป็นต้น

8. สูบบุหรี่จัด

การสูบบุหรี่อาจะฟังดูเป็นปัจจัยที่ไม่น่าเกี่ยวกับการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่จริง ๆ แล้วเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค โดยการสูบบุหรี่นั้น ทำให้ออกซิเจนไปเเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังไม่ดี ทำให้คุณสมบัติความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการทำงานลดลง



หากคุณทำพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นประจำ และกำลังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความเสี่ยงของโรคนี้มากน้อยเพียงใด สามารถทำแบบประมาณความเสี่ยงได้ที่นี่



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ หากต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบเจอผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ หากต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบเจอผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test)

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิดระบาดอย่างหนัก ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงติดโควิดสูงมาก ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตามก็อาจติดได้อีก

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test)

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิดระบาดอย่างหนัก ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงติดโควิดสูงมาก ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตามก็อาจติดได้อีก

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย